Sunday, September 30, 2007

“Home is (not) Where We Sing For” Karaoke and Democratic Voice of Burmese Migrant Worker

“Home is (not) Where We Sing For”
Karaoke and Democratic Voice of Burmese Migrant Worker

Siriporn Somboonboorana

Introduction
This paper focus on one of the activities of Burmese migrant doing after work, they love to hang out around the local restaurant to sing a karaoke. For them, to practice a karaoke is something like to cross tension between ability’s voice and other possible desires. My paper also deals with the origin, evolution and interrelation of the Burmese workers, with the particular elements of their culture and everyday life, and social spatial in the border city between Thailand and Burma, Ranong province.

Significant in Anthropology of border, living outside the borders of the “homeland” and inside the borders of “another country” often entails a border journey into the memory and imagination that negotiates between old and new, past and present, self and other, safety and danger. Thus, conceptions of cultural borders have given way to globalism, multiculturalism, and transnationalism, while generic boundaries have collapsed into “blurred” or “mixed” genres. (Donna, Hastings and Wilson, Thomas M. 1999 : 40-42)

Then, my argument is that karaoke signing is intimately related to the memory and the imagination of democratic in their homeland and their place to stay. As participatory consumption, karaoke is so important in their floating lives. To sing in front of the public with the karaoke juke-box therefore symbolizes the new awareness of self in Burmese communities in Thailand. But any place they went or stayed in Thailand, their life was still on the border. Thus, I would like to introduce about the state of Burmese migration in Ranong, Thailand first. And then analyzed what karaoke did in the life of Burmese workers.


Burmese Migrant Workers: Where are Home for You Now?
In Thailand, illegal immigrants are the biggest group of migrants to Thailand. Since mid of 1990’s, economic prosperity in the country had brought about income disparities between Thai nationals and nationals of neighboring countries whose economic development has advanced at a slower speed. The largest group of migrant workers, accounting for over 70 %, is Burmese; they are willing to work at dirty, dangerous, risky and difficult jobs (the “3Ds”). They are cheap and unskilled labor. In fact, labor Burmese workers are important to the economy’s Thailand, nevertheless almost all are illegal. As Thailand’s economy becomes prosperous, waves of Burmese migrants are on the move across Thailand to escape poverty at homeland. It can be said that there are lots of Burmese migrant communities in Thailand such as Mae Sot town, Tak province, western of Thailand, Mae Sai town, Chiangrai province, north of Thailand and Mahachai town, Samut Sakhon, central of Thailand which are quite busy with the cross-border movement of people.

In Ranong, Burmese crossed the border easily from Kawthaung, the harbor of Burma’s Victoria Point to the nearby Thai port of Ranong province. And they also cross at small ports along Kraburi River which Thai- Burma territory is on. It could be said that this border is quite no border line. That means it not seriously about territory if we compare it to the north of Thailand where a minority conflict in Burma makes the national security is so stronger. Most of them left their homes and came to Thailand because they know that they could earn more money here than they can in Burma. Therefore, in Ranong’s market, you can see lots of the Burmese men walk around the town wearing longyis (sarongs) and taking to finish a mouthful of betel and areca nuts and the most of women make up their face with Burmese powder (Tanaka). As is important for Ranong economic, we also see Burmese script, along with Chinese and Thai script, displayed on the shop’s front. This implies a clash between the ‘house rules’ of the new place and the practices that immigrants brought with them.

It could be said that there are lots of Burmese migrant communities in Ranong. Moreover, it can urge that if one day you went to Ranong province, particularly to Ranong’s city, you would probably assume it is in Burma territory, not in Thailand territory. However, my concern here is not about the geographical border.

Theoretically, migration means leaving home and taking up residence in someone else’s home. The newcomers seek to construct a place that they can again call home, and follow their own preferences that involves negotiations with neighbors. Home is where one feels a sense of belonging and security, and where one can decide on acceptable values and forms of behavior. Feher and Heller (1994, 143-7) have proposed the concept of “house rules” for this. Home also implies closure: only those who belong can come in, and a home-owner can shut the door on outsiders. However, home does not just refer to a house, but by analogy to a wider social space – even a country. The notion of home is part of the discourse of the nation-state, having emotive connotations of solidarity with those inside and the exclusion of those outside. That’s a place making where’s a highly visible process, through signs on shops and restaurants, local market and a different use of public space. On the borderland, place making can be seen as a spatial extension of home building and liked to the partial control of local markets (Castles& Davidson 2000: 130-131).

So, the heightened movement of Burmese people, symbols and practices have not only undermined the structures of Thai society that attempted to make a sense of the social homogeneity as it embedded the identity of subjects within given geo-political units and linear narratives of history, but has also problematized the degree to which migrants have made an exclusive identification with their place of work and living outside their homelands. And karaoke shop does something in making sense of the living for Burmese people in Ranong.

From Japanese to Burmese: A Karaoke Singing for Everyday Living

By the 1970s, Karaoke was popularized by the Japanese singer Daisuke Inoue in Kobe. After becoming popular in Japan, karaoke first spread to East and Southeast Asia during the 1980s and subsequently to other parts of the world. In Asia, a karaoke box is the most popular type of karaoke venue. A Karaoke box is a small or medium-size room containing and less public atmosphere. Generally, entire business provides karaoke as their primary function, although karaoke machines are sometimes included in hotel or other business facilities(http://en.wikipedia.org/wiki/Karaoke,5/4/2007) Longman’s English dictionary explains about Karaoke is “the activity of singing to recorded music for entertainment” and “a machine that plays recorded music which people can sing to” (Longman 1995:773). And The Oxford Advanced Learner’s Dictionary (2000:735), as “A type of entertainment in which a machine plays only the music of popular songs so that people can sing the words themselves”.

The transition from juke-box to karaoke in the 1970s should not be interpreted in the same way. Karaoke is cultural technology; it is irrelevant to conceive it as the product itself that the boom exploded. It is not only a sing-along machine but also a variation of image consumption for Asian people. The technological image of karaoke may result from its contrast with pre-existent forms of non-professional singing. Unlike television and cassette tapes, cultural technologies that deeply penetrate mass music consumption in Asia and other areas. (Otake&Shuhei, 53, 2005)

Kimindo Kusaka (cited in Ban 1991, in Lum, Casey Man Kong1998, 172-3) said that (Lum, Casey Man Kong 1998: 172-173) “Karaoke is part of the “culture of form”. In any country, more than half of the citizens live a life of following orders from above. Once in a while, these people want to express themselves in front of others. They have difficulty doing something completely different from what others do, but they can do something if they can practice a fixed form.

Interestingly, Asia pop songs are unambiguous examples of the double indigenization of Japan and the West by local musicians. Many Japanese Top 10 tunes that usually consist of Western- borrowed sound are today covered in Cantonese and Taiwanese, and, with more luck, in Mandarin, Vietnamese, Thai, Burmese, Indonesian, Malay, and so on. The Asian music cultures are homogenized by the loud singing voice from the speaker. Thus, karaoke is in turn domesticated by Asian people and becomes the most popular technology for singing. It is true that karaoke by necessity institutionalizes non-professional performance in front of bar or box audiences through pre-recorded sound, cheap images and amplified voice; it does not erase the local differences in which the material practice of singing is embedded(Otake, Akiko and Hosokawa, Shuhei 1998:196)

Unfortunately, in the Fascist state of Burma, karaoke bar/restaurants are Fascist Entertainment. Only, the military and government officer can pay for this. Although, the poor can have CD device, but they sang the songs much censored by government. (Skidmore, 2004)

To sing songs in Burmese in Ranong, the karaoke became tool of a symbolic of the community. In the Burmese’s migrant community, karaoke is very popular because it is consistent with culture practice of social singing. Specially, one of activities in everyday life they want to relax and sing songs with girls in karaoke shops. As metaphor, the practice of karaoke is the old identity they lost and the new one they found. The singing is one of the methods to construct their space and power in the new country. To be due to live in Burma, they cannot sing karaoke songs in public space such as karaoke bars and restaurants or owner especially of karaoke machine. And when they came to Thailand and live on the border. They cannot speak Thai and communicate with people around them so they feel inferior. They want to able to communicate in Thai and understand each other better. Living in a foreign land without full rights, it is understandable that they have some feelings of fear and uncertainty. However, they do not blame anyone or ask for anything beyond basic consideration as a human being.

This generalization comes under specifically related to identity communities which are marginalized, which succeed or fail to create space, which stand against flows of capital and practice to inscribe their identity on the physical world. When a singer’s voice is mechanically amplified (with echo) and shared with the anonymous audience, it becomes more publicized than an unamplified singing voice. For those who are not strangers in the communities, a collective singing in shophouses is seemed like a participatory democracy in their dream. May be they can not do something like this in their homeland. Thus, a karaoke is not only a reincarnation technology but also a pre-existing of cultural practice for the migrants. Moreover, the karaoke singing is expected to take a turn at performing on stage for the warmly enjoyment with others, no matter how well Burmese migrants perform. Indeed, they only want to present and perform as free(dom)as they can on this practices.

During the evening the microphone passes from hand to hand and everyone present can be a star in turn. There are about 40 karaoke bars/shops owned by both Ranong native and Burmese in Pauk Khaung Ranong. Mostly there are shophouses karaoke. Each shop have only one karaoke jukebox and it has Burmese music’s lists on the wall for service the customers. Burmese always sing songs after work time and drink alcohol with girls and their friends. They seem not only to get rid of their stress but also to get more relaxation and imagination there. They always sing karaoke songs in Burmese language, not in Thai language. The CD of karaoke songs, almost are Burmese popular music were imported from Burma, these are illegal. But who care!

Democratic Voice and Its Place- Making
In my short time fieldwork, I founded that on the cultural globalization, market expansion and social spatial practices of Burmese workers on the borderland was on socio-spatial dialectics of place-making on border land like Shields said( 1991). Furthermore, globalization and market expansion changed Ranong province into multicultural- marginalized space where the idea of having a clearly bounded nation–state with a homogeneous identity could become unviable.

Burmese migrants often come to Ranong with an expectation of economic and social integration into a local society. Differences between migrants and local people in language and traditions may seem less significant than the common acceptance of a culture, economic and political structures. However, such individual workers usually can integrate to highly skilled migrants, who are not subjected to processes of labor market segmentation and residential segregation. But most of lower skilled migrants experience discrimination and exclusion. This often provokes a response in which group culture becomes a resource for survival and resistance.

At Pauk Khaung Ranong, where Burmese village and fishing factory are, the sounds of Burmese karaoke fill the roads in every evening. Pauk Khaung is a famous Burmese karaoke area in Ranong as well. Actually, there are not karaoke bars in the sense of night life as usual. This area is only well-known local entertainment for Burmese migrants.

Burmese migrants often sing karaoke Burmese songs in karaoke bars/shops and present their voices very loudly. The voices were presented to empower them and freedom in the place. Hence, karaoke is intimately related to the democracy and freedom of self expression in Thailand. The appearance of common people and the new lifestyle was presented in the practice of karaoke, which was symbolic of the new democratic in the place. Also, Karaoke is device to let us know that Burmese seek a mean of escape from the everyday poverty, fear and oppression that are both real and imagined.

The karaoke place is place-making imagination, as it resists the easy distinction between public and private, commercial and recreational, real and virtual. They think they are using imagination by buying the latest mass produced goods, karaoke. Their imagination becomes scripted by those same market forces, so that dreams become commercials, which become karaoke scenes and music, which become dreams all over again, severed from their material history and therefore believed to be unique. The imagination that makes place possible is not the imagination of fantasy. It is not that they produce self-contained worlds, which they then use to reconstruct the real world.

However, many karaoke shophouses operated in small private rooms and open door. The local authorities always went there and sometimes forced the owner to close the shophouse. Because they supposed these shop connection with the underground economy such as prostitutes, trafficking, drug and tax evasion.

In place like Pauk Khaung Ranong, the karaoke bars/shops became zones of cultural production and consumption and contested spaces of meaning-making and meaning breaking. Karaoke shops/bars are socially constructed, in that they are made possible through the tacit and explicit social assumptions, agreements, practices, habits, and significations in which migrants hold. The karaoke place on the border is a highly visible process, through signs on shops and restaurants, ethnic markets and different use of public space. And it is the place-making to take place everywhere karaoke shops are.

For karaoke, the indifference between the two sound machines (microphone and TV) is found not in the meaning of sound-and-vision experience but in the theatricalization of space by incorporation the stage from the floor. For border, the significance of the visual space in territory lies in the subjective and collective participation. In order to fill the gap, Burmese migrant is rather than living it from place as ready-made; they interpreted it as space established by them. Thus, Karaoke was embrace as an everyday cultural practice of Burmese migrants.

It is important to note that their voices are liberated by them for freedom. While they escaped from their homeland and confront the new home, they have to build new place like their home in Burma. Hence place-making imagination must be something more than the mere production of images of place or space. Karaoke place, as place-making imagination was constructed for escaped the reality, after work in everyday.

Many Burmese migrants expect their home to be democratic country, the imagination in their homeland and they expect the new home to give democratic lifestyle and modern life. Reality, they want to express them in front of Thai society and respect from Thai people. Not only imagine and dream in karaoke but also they want to meet in the real world, “Life is not all bad, when we look at the brighter side” said a Burmese labor who was sitting in karaoke shop.
Conclusion
In the past two decades, the waves of Burmese migrants moved across Thailand’s border by escape poverty in Burma. The leaving home and taking up residence in other land, Burmese migrants seek to construct a particular place that they can make a negotiation with neighbors in Ranong province, the border city of Thailand. They also constructed a place, Pauk Khaung Ranong which has cultural meanings in their everyday life while they were living in this city.

One of the cultural from that they used is the karaoke. And there are many karaoke bars/shops in Burmese community on Pauk Khaung Ranong. And the songs they sang signified a symbolic of the community. It is not surprising that the Burmese migrants do not feel a sense of belonging and security in their homeland. It has not a freedom of speech there.

The singing karaoke Burmese songs in karaoke bars/shops represented the voice of freedom. It is very loudly. Moreover, the karaokeshops’ places took the lines among leisure, work and entertainment which were blurred. Their loudly voices also empowered them to get the freedom in the place not only they used to belong but also belonging now. Thus, they also felt that karaoke is related to the democracy and freedom of self expression in their living in Thailand. Moreover, Burmese karaoke is device to let us know that Burmese seek a mean of escape from the everyday poverty, fear and oppression that are both reality and imagination.


References

Abbas, Ackbar and Erni, John Nguyet. (Eds.) (2005) Internationalizing Cultural Studies An Anthology., London : Blackwell Publishing.
Adam, Don and Goldbard, Arlene. (Eds.) (2002) Community, Culture and Globalization., New York : The Rockefeller Foundation.
Appadurai, Arjun (2003) “Sovereignty without Territoriality: Notes for a Postnational Geography” in the Anthropology of Space and Place. Low, S (eds.), London: Blackwell Publishing.
Barkan, Elazar and Shelton, Marie-Denise (eds.) (1998) Borders, Exiles, Diasporas. California: Stanford University Press.
Boonma-klee, Venika (1997) Burma: Thai Foreign Policy under the Chatichai Choongavan’s Government. Bangkok: Thammasat University Press. (In Thai)
Brettell, Caroline B. (2000) “Theorizing Migration in Anthropology: The Social Construction of Networks, Identities, Communities, and Globalscapes”. In Migration Theory. Brettell, C. and Hollifield, James F. (eds.), Great Britain: Routledge. pp97-133
Castles, Stephen & Davidson, Alsatair (eds.) (2000) Citizenship and Migration. London: Macmillan Press LTD.
Chambers, Iain (1994) Migrancy, Culture, Identity. New York: Rutledge.
Chantavanich, Supang (ed.) (1988) Indochinese Refugees: Asylum and Resettlement. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Chantavanich, Supang (1996) “People on the Move : Issue and Area of Potential Research for Transnational Migration in Thailand and Asia”. Journal of Social Research, Vol 19 (1), pp 114-128
Chow, Rey (1993) Writing Diaspora. Indianapolis: Indiana University Press.
Clark, W.A.V. (1986) Human Migration. California: Sage Publications, Inc.
Donnan, Hastings and Wilson, Thomas M. (1999) Borders: Frontiers of Identity, Nation and State. Oxford: BERG.
Gramsci, Antonio.(1984). Prison Notesbook. London: Lawrence&Wichart.
Henderson, Mae G. (Ed.) (1995) “Introduction”. In Borders, Boundaries, and Frames. Mae G. Henderson (ed.) New York: Routledge.
IPS Asia-Pacific (2003) Invisible Borders: Reportage from Our Mekong. Bangkok: Love and Live Press.
Kate McGeown Life on the Burma-Thai border http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/6397243.stm Monday, 26 February 2007, 14:25 GMT
Lent, John A. (ed.) (1995) Asian Popular Culture. Oxford: Westview Press.
Longman (1995) Longman Dictionary of Contemporary English, third edition, London: Longman.
Michaelsen, Scott and Johnson, David E. (eds.) (1997) Border Theory The Limits of Cultural Politics. London: University of Minnesota Press.
Miller, Toby and McHoul, Alec. (1998) Popular Culture and Everyday Life. London: SAGE Publications.
Mitsui, Toru and Hosokawa, Shuhei (eds.) (1998) Karaoke Around The World. London: Routledge.
Otake, Akiko and Hosokawa, Shuhei. (2005) “Karaoke in East Asia: Modernization, Japanization, or Asianization?” in Internationalizing Cultural Studies An Anthology. Abbas, Ackbar and Erni, John Nguyet. (eds.) London : Blackwell Publishing.,pp 51-60
Oxford. (2000) Oxford Advanced Learner’s Dictionary sixth edition, Oxford: Oxford University Press
Paerregaard, K (1997) “Imagining a place in Andes : in the borderland of lived, invented, and analyzed culture”. In. Siting Culture. Karen Fog Olwig and Kirsten Hastrup. (ed) New York: Routledge.
Papastergiadis, Nikos (1998) “The Deterritorialization of Culture”. Arena journal, No.11, pp 145-170.
Parnwell, Mike (1993) Population Movements and the Third World. New York : Routledge.
Punnarong, Nakorn (1997) Problems on Thai-Burmese Border, Bangkok: Thammasart University Press (In Thai)
Richmond, Anthony (1994) Global Apartheid. Oxford: Oxford University Press.
Schwartz, Jonathan (1997) “”Roots” and “Mosaic” in a Balkan Border Village”. In., Siting Culture. Karen Fog Olwig and Kirsten Hastrup. (eds.) New York: Routledge.
Shields, R. (1991). Place on the Margin. New York: Routledge.
Skidmore, M (2004) Karaoke Fascism Burma and the Politics of Fear. Pennsylvania: University of Pennsylvania Press.

Saturday, September 29, 2007

Thursday, September 27, 2007

กราฟฟิตี้ : อาชญศิลปะกับดนตรีฮิป ฮอป ข้างถนน :บรรยายโดย วิริยะ สว่างโชติ

คำว่า "Graffity" มาจากคำว่า " Grafito" ภาษาอิตาเลียนที่หมายถึง "รอยขีดข่วน" ในปัจจุบันกราฟฟิตี้จัดเป็นองค์ประกอบหนึ่งใน 4 ของวัฒนธรรมฮิพ ฮอพ ( Hip Hop Culture) ที่มี MC, DJ, B-Boy และ Graffity



ศิลปะแบบกราฟฟิตี้เกิดขึ้นในย่านชุมชนแออัดที่บรุคลิน มหานครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ช่วงกลางยุค 1970 งานส่วนใหญ่เขียนบนผนังอาคารหรือตัวรถไฟฟ้าที่วิ่งเชื่อมต่อในเขตเมืองกับชานเมือง เหตุผลสำคัญที่งานเกิดในย่านนี้ก็เพราะมีการรื้อ-ย้ายชุมชนแออัดออกจากย่านบรุคลิน ทำให้คนเหล่านี้ใช้ "การพ่นสี"บนรถไฟฟ้าเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงย่านเดิมที่พวกเขาเคยอยู่และย่านใหม่ที่เพิ่งย้ายไปอยู่ ส่วนผนังอาคารร้างเดิมในบรุคลินก็กลายเป็น "พื้นที่สาธารณะ"ของการพ่นสเปย์อย่างดี






คำว่า " Crimial Art" ( หรืออาชญศิลปะ)เป็นคำที่ใช้กับทั้งผลงานและตัวศิลปินเอง เนื่องจากงานเขียนส่วนใหญ่ไม่ว่า " Tag" หรือ "Production" มักจะอยู่ในพื้นที่สาธารณะซึ่งมักเป็นที่ที่รัฐไม่อนุญาติให้ใช้ประโยชน์

Thursday, March 8, 2007

The Village Album











บันทึกไว้ในหัวใจ
The Village Album


เชื่อว่าคนเราทุกคนมีความทรงจำที่ดีจากประสบการณ์ที่ดี เพียงแต่เราจะระลึกถึงและหวนคำนึงถึงมันตอนไหน ? และเราเองอยากจะเก็บความทรงจำที่ดีในรูปแบบใด ? อาจเป็นการบันทึกเป็นเรื่องเล่าผ่านจินตนาการ หรือการบันทึกผ่านกล้องถ่ายภาพ ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่สามารถบันทึกสิ่งต่าง ๆ ได้ แต่ทั้งหมดนี้จะมีคุณค่าได้ก็ต่อเมื่อผ่านสายตาของเราเอง ด้วยตัวเอง และมีความรู้สึกที่ดีต่อสิ่งที่ถูกบันทึกเหล่านั้น


ความรู้สึกเช่นนี้ดิฉันแทบจะลืมไปแล้วด้วยซ้ำไป จนกระทั่งได้ชมภาพยนตร์เรื่อง บันทึกไว้ในหัวใจ The Village Album ฉายที่โรงภาพยนตร์ลิโด เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2549 (ฉายมาแล้วเกือบหนึ่งเดือน) และไม่รู้ด้วยว่าภาพยนตร์นี้เนื้อเรื่องและแนวภาพยนตร์เป็นอย่างไร รู้แต่ว่าเป็นภาพยนตร์ญี่ปุ่นเท่านั้น และสาเหตุที่เข้าไปดูเพราะความรู้สึกเซ็ง ! เพราะภาพยนตร์ที่ต้องการดูต้องรอนานมากหลายชั่วโมง จึงตัดสินใจ.....
ภาพยนตร์เรื่องนี้ มีความยาว 111 นาที เป็นภาพยนตร์แนวดราม่า (Drama) โดยมีผู้กำกับชื่อดังของญี่ปุ่นคือ มิตสุฮิโระ มิฮาระ นักแสดงนำ ได้แก่ ทัตสุยะ ฟูจิ รับบทเป็นพ่อ , เคน ไคโตะ รับบทเป็นลูกชาย ,มาโอะ มิยาจิ รับบทเป็นลูกสาวคนเล็ก และ เรน โอสุกิ




จากภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากเทศกาลหนังนานาชาติเซี่ยงไฮ้ครั้งที่ 8 (SIFF Shanghai International Film Festival) (Jin Jue Award International Film Competition) ปี 2005 ภาพยนตร์เรื่องประสบความสำเร็จได้ด้วยฝีมือของผู้กำกับดัง มิตสุฮิโระ มิฮาระ ซึ่งเขาเคยประสบความสำเร็จมาแล้วในภาพยนตร์เรื่อง The Wind Kingdom และได้รับรางวัลกรังปรีซ์ (Grand Prix) จาก เทศกาลหนัง Eokuoka ครั้งที่ 8 (1992) และ ได้รับรางวัลกรังปรีซ์ (Grand Prix) จาก Itami City Script Competition (1993) จากภาพยนตร์เรื่อง Vitamin of Midsummer สำหรับภาพยนตร์เรื่อง The Village Album เป็นภาพยนตร์ที่มิตสุฮิโระ มิฮาระ ต้องการนำเสนอถึงความรู้สึกภายในจิตใจลึก ๆ ของมนุษย์อันอ่อนโยน ที่มีต่อครอบครัวและชุมชนของตนเอง จึงเป็นเรื่องเล่าถึงความแตกแยกของครอบครัวและการกลับมาอยู่ร่วมกันอีกครั้ง รวมถึงภาพของหมู่บ้านชนบทในอุดมคติที่กำลังจะสูญหายไป
ภาพยนตร์เปิดเรื่องด้วย เสียงเล่าของตัวเอก คือ ทากาชิ ที่เล่าถึงเรื่องราวของบ้านเกิดของเขาและการได้มีโอกาสร่วมงานกับพ่อของเขาในช่วงก่อนที่หมู่บ้านนี้จะอยู่ใต้น้ำ จากนโยบายการสร้างเขื่อนของรัฐบาล ทากาชิ หนุ่มต้นเรื่อง (แสดงโดย เคน ไคโตะ)


เรื่องราวของเรื่องเกิดขึ้นที่หมู่บ้านฮานาตามิ ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ท่ามกลางหุบเขา แห่งหนึ่งในญี่ปุ่น ชาวบ้านที่นั่นใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย หลายคนอยู่ที่นั่นมาตั้งแต่เกิด ทำมาหากินและเป็นที่ตายมาหลายชั่วอายุคน รวมถึงบางคนยอมอพยพมาอยู่ที่นั่นเพราะหนีความวุ่นวายของเมืองใหญ่ และหวังว่าจะได้ใช้ชีวิตที่นั่นจวบจนวาระสุดท้าย แต่จู่ ๆ ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เมื่อรัฐบาลประกาศว่ามีโครงการก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำในบริเวณนี้ และมีคำสั่งให้ทุกคนอพยพออกจากหมู่บ้านในเวลาอันรวดเร็ว จากเหตุการณ์นี้ทำให้ชาวบ้านเองก็แตกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งต่อต้านการสร้างเขื่อน นำโดยเคนอิจิ ผู้เฒ่าเจ้าของร้านถ่ายรูป และอีกฝ่ายหนึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ในที่สุดฝ่ายต่อต้านกลับต้องพ่ายแพ้ ทำให้สภาตำบลและชาวบ้านต้องกลับมานั่งปรึกษาหารือกันอีกครั้งถึงการใช้เวลาที่เหลืออยู่ ต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อเป็นที่ระลึก “อะไรบางอย่าง” จึงมีการลงความเห็นว่า อยากให้ เคนอิจิ ตาเฒ่าเจ้าของร้านถ่ายรูปเก่าแก่ในหมู่บ้าน ผู้เงียบขรึม แต่ใจร้อน ใช้เวลาช่วงสุดท้าย ก่อนทุกอย่างจะหลงเหลือเป็นแค่ความทรงจำ ตระเวนบันทึกภาพผู้คนทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้าน เก็บไว้เป็นที่ระลึก ..จัดทำอัลบั้มรูปของหมู่บ้าน ถือว่าเป็นของขวัญชิ้นสุดท้ายของหมู่บ้าน สักเล่มหนึ่ง ...


เคนอิจิตอบตกลงโดยไม่อิดออดใด ๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งยังยื่นข้อเสนอให้กับทางสภาตำบลว่า ต้องการให้ลูกชายของเขาที่ไปทำงานในโตเกียวกลับมาเป็นผู้ช่วยของเขา สำหรับทากาชิ ลูกชายเองไปอยู่เมืองใหญ่ แต่หลอกทางบ้านว่าตัวเองมีความสุขกับการได้อยู่ในเมืองใหญ่และทำงานเป็นผู้ช่วยช่างกล้องฝีมือดี แต่จริงๆ แล้วเขาเป็นเพียงแค่เด็กฝึกงาน และทำงานพาร์ทไทม์ในร้านอาหารฟาสฟู้ดเท่านั้น อีกทั้งเช่าห้องเล็ก ไม่มีเงินเก็บแถมยังเป็นหนี้เสียอีก ทากาชิตัดสินใจกลับมาบ้านตามคำขอร้องของเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งในสภาตำบลและน้องสาวของเขา เมื่อเขากลับมาเขาพบว่า เขาไม่ได้รับการต้อนรับจากพ่อของเขาดีนัก ทั้งนี้เพราะความสัมพันธ์ของสองพ่อลูกมีค่อยราบรื่น ทั้งคู่มีความคิดเห็นไม่ค่อยลงรอยกัน และมีปากเสียงกันหลายครั้ง


วันทำงานของสองพ่อลูกก็เริ่มขึ้น ตั้งแต่เช้า โดยตาเฒ่าเคนอิจิ แบกกล้องสะพายหลัง ส่วนทากาชิช่วยถืออุปกรณ์ขาตั้งกล้อง ตาฒ่าเคนอิจิเริ่มต้นโดยการเดินไปตามถนนเล็ก ๆ ขึ้นเขาลงเขาไปตามบ้านต่าง ๆ ในหมู่บ้าน ส่วนทากาชิไม่พอใจต้องการนั่งรถยนตร์ เพื่อความสบายและรวดเร็ว โดยไม่เข้าใจว่าพ่อของเขาเดินทำไม ในเมื่อตัวเองก็ไม่แข็งแรง ทำให้สองพ่อลูกมีความเห็นที่ขัดแย้งที่รุนแรง จนถึงชกต่อยกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ทากาชิค้นพบก็คือ การเดินของพ่อมีค่ามาก เพราะได้เก็บบันทึกความทรงจำและรายละเอียดของภาพหมู่บ้านได้ครบตลอดเส้นทาง นั่นคือสิ่งที่คนรุ่นใหม่อย่างเขาไม่เคยคิดถึงและตระหนักกับรายละเอียดของสิ่งเหล่านี้ เขาเองเริ่มเห็นมุมใหม่ ๆ ของพ่อ และเริ่มเข้าใจพ่อมากขึ้น ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยเข้าใจมาก่อนเลยในชีวิต

การนำเสนอของภาพยนตร์เรื่องนี้มิได้นำเสนอแต่เพียงเรื่องราวความสัมพันธ์ของพ่อลูกเท่านั้น แต่เป็นเรื่องราวของความสัมพันธ์และความเอื้ออาทรกันของผู้คนในชนบท เช่น การที่เคนอิจิได้ถ่ายภาพครอบครัวของเพื่อนสนิท ซึ่งมีพ่ออายุกว่า 90 ปีได้มีโอกาสถ่ายภาพร่วมกับลูกหลานและเหลนจำนวนมาก และพ่อของเขาเองก็ไม่เคยถ่ายรูปมากก่อน หลังจากที่ได้ถ่ายภาพนั้นได้ 2-3 วัน ก็เสียชีวิต ทำให้เห็นเพื่อนของเขาต้องมาขอบคุณเคนอิจิอย่างมาก รูปภาพวันนั้นเป็นเครื่องบันทึกความทรงจำของครอบครัวเขา

การเดินทางของเคนอิจิกับทากาชิขึ้นไปบนภูเขา ห่างจากหมู่บ้านหลายกิโลเมตร ที่นั่นเป็นบ้านของยายเฒ่าอายุ 80 กว่าปี อาศัยอยู่เพียงคนเดียว หาเลี้ยงตัวเองด้วยการปลูกผักและผลไม้ และนับเวลานานหลายปีหลังจากที่สามีของยายเฒ่าเสียชีวิตไป ยายเฒ่าไม่เคยลงจากเขามาเลย เมื่อเคนอิจิขึ้นไปเพื่อขอบันทึกภาพ ยายเฒ่าดีใจมากและยายเฒ่าก็ได้มีโอกาสถ่ายรูปกับสามีและลูกชายอีกครั้ง ยายเฒ่าจึงตอบแทนสองพ่อลูกด้วยผลไม้สด แต่ความสัมพันธ์มิได้หยุดเพียงเท่านั้น ครั้นเคนอิจิไม่สบายต้องเข้าโรงพยาบาลด่วน เคนอิจิและทากาชิต้องประหลาดใจอย่างมาก เมื่อยายเฒ่าลงจากเขามาเยี่ยมเคนอิจิ พร้อมด้วยผลไม้สดจากสวน ภาพยนตร์ได้สื่อถึงภาพของสัมพันธ์ที่เอื้ออาทรซึ่งกันและกันไม่แบ่งชนชั้น แบ่งเพศ แบ่งวัย นอกจากนี้เคนอิจิได้ทำให้ลูกชายของเขาเห็นคุณค่าของงานที่ตัวเองรัก และการให้ความสำคัญกับการสร้างงานให้มีคุณค่า ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ทากาชิเองได้มีโอกาสเรียนรู้จากพ่อของเขา


จุดเด่นของภาพยนตร์เรื่องนี้ อยู่ที่การถ่ายทอดความงดงามของชีวิตผู้คนในชนบท ได้อย่างเป็นธรรมชาติ แม้จะมีหลายตอนที่บีบคั้นเร้าอารมณ์ แต่ภาพที่ถูกนำเสนอเรียบง่าย นิ่งและส่งผลให้ผู้ชมเองรู้สึกถึง “ความจริงใจ” ของภาพยนตร์ที่สื่อออกมา แม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะถูกวิจารณ์ว่า เป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอเนื้อหาของเรื่องเชิงสารคดีแบบง่าย ๆ ได้อย่างมีศิลปะ และสามารถเข้าถึงจิตใจของมนุษย์ด้วยวิธีการเรียบง่าย ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ของพ่อลูก ความสัมพันธ์เพื่อนบ้าน ความสัมพันธ์ของคนต่างรุ่น ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรมชาติ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างอดีตกับปัจจุบัน นับว่าเป็นภาพยนตร์ที่สัมผัสถึงความรู้สึกทางจิตใจของเราได้อย่างดี


สำหรับดิฉันแล้ว เมื่อชมภาพยนตร์ที่จบความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้น คือ คิดถึงพ่อ และโหยหาบ้านเกิดในชนบทเมื่อวัยเยาว์ที่เราผ่านมาร่วมหลายสิบปี ทำให้เราเห็นคุณค่าของความทรงจำที่ดีที่ควรบันทึกไว้สุดลึกของหัวใจเรา และพร้อมจะถ่ายทอดด้วยความจริงใจให้กับคนรุ่นหลังอย่างมีคุณค่า


Tuesday, February 13, 2007

หนทางไหนดี ? รักนี้เพื่อข้าหรือแผ่นดิน ?







หนทางไหนดี ? รักนี้เพื่อข้าหรือแผ่นดิน ?




¯ประเทศชาตินี้ของคุณ ดินแดนนี้ของคุณ กำลังเรียกหาคุณอยู่ นี่คือสายสัมพันธ์ที่มิมีวันขาด
กลิ่นหอมของดินนั้น คุณจะลืมลงได้อย่างไร คุณจะไปที่แห่งใดก็ตาม คุณจะต้องหวนกลับมา
จากหนทางใหม่ ๆ ที่ก้าวไป ....ความสุขทุกอย่างที่ได้โปรยลงมาชโลมตัวคุณ
แต่คุณอยู่ห่างไกลบ้านของคุณ หวนกลับไปเถิดคนคลั่งไคล้
ที่ซึ่งมีใครเห็นคุณเป็นคนของเขา เรียกร้องคุณอยู่...
ช่วงเวลานี้ก็เหมือนกัน ซึ่งหลบซ่อนอยู่ จบไปหนึ่งสมัย จบไปทั้งชีวิต
คุณเป็นคนบอกว่าจะไปหนทางไหนดี...ไปหนทางนำไปสู่ชาตินั้น...¯

เพลงประกอบภาพยนตร์ Swades โดย A.R. Rahman

ถ้าคุณรู้สึกว่ากำลังสับสนกับตัวเองว่าจะเลือกเดินบนเส้นทางไหนดี ระหว่างความก้าวหน้าของชีวิตในหน้าที่การงานแต่ไร้การโอบกอดจากคนที่เรารักกับอีกเส้นทางหนึ่งที่เต็มไปด้วยความอบอุ่นจากอ้อมกอดของคนที่เรารักและคนที่เขารักเรา คุณจะเลือกเส้นทางใด ?
แหละนี่ ! คือ คำถามที่เรามักจะถามตัวเองอยู่เสมอว่า กำลังทำอะไรอยู่ ? จะอยู่ได้อีกนานหรือไม่ ? จะทนอีกสักเท่าไร ? เพราะเมื่อดูภาพยนตร์เรื่อง Swades We, the people หรือ รักข้าเพื่อแผ่นดิน ทำให้กลับมาย้อนตัวเองเหมือนกัน ว่า ชีวิตที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ...เรามีความสุขหรือยัง ? เราเพียงพอหรือไม่ ? ...และที่สำคัญเราเคยทำอะไรให้กับบ้านเกิดเมืองนอนของเราบ้างหรือเปล่า ? เพราะภาพยนตร์เองได้สื่อความหมายบางอย่างให้เรา ได้คิดและตระหนักถึงความจริงในสังคม และความจริงเหล่านั้นเราจะรับรู้และจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นมาได้อย่างไร โดยมิได้อยู่อย่างนิ่งเฉย และมองว่า ไม่ใช่เรื่องของเรา ภาพยนตร์เรื่อง Swades We, the people หรือ รักข้าเพื่อแผ่นดิน ภาพยนตร์อินเดีย แนวดราม่า เป็นเรื่องราวของ โมฮัน ชายหนุ่มนักวิทยาศาสตร์หัวก้าวหน้าอนาคตไกล และหัวหน้าโครงการสำรวจอวกาศ ของNASA เขาจากบ้านมาอยู่อเมริกานานมาแล้ว วันหนึ่งโมฮันคิดถึงแม่นมจึงกลับไปยังอินเดียอีกครั้ง โดยมีความตั้งใจที่จะรับเธอมาอยู่ด้วย แต่แม่นมของเขาย้ายไปอยู่ที่อื่นแล้ว โมฮ้นตามหาจนพบที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งมีความสงบ เรียบง่าย ทำให้เขานึกถึงช่วงชีวิตวัยเด็ก ที่นีโมฮันได้พบกับกีตา สาวสวย ทั้งสองต่างชอบพอกัน โมฮันต้องการพากีตา และแม่นมของเขากลับอเมริกา แต่กีตาไม่ยอม เธออยากอยู่เพื่อช่วยเหลือพัฒนาหมู่บ้านให้ดีขึ้น สุดท้ายโมฮันก็ต้องตัดสินใจเลือกระหว่างอนาคตที่กำลังรุ่งโรจน์ และบ้านเกิดที่เพียบพร้อมไปด้วยความรักและความอบอุ่น¸
Swades เป็นภาพยนตร์อินเดียที่ทำให้เรารู้สึกถึงความรักที่แท้จริง และอ้อมกอดของคำว่า “บ้านเกิด” ผู้เขียนบทและผู้กำกับเรื่องนี้คือ Ashutosh Gowariker เป็นคนคนเดียวที่เคยถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลอคาเดมี (Academa Award) จากเรื่อง Lagaan และที่สำคัญชารุส ข่าน (Shahrukh Khan) ได้รับรางวัลปี 2005 ผู้แสดงนำยอดเยี่ยม (Best Actor) จาก Global Indian Film Award (GIFA) และจาก Film Caf’e Award และเขาจัดว่าเป็นนักแสดงที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ได้ดี อีกทั้งสามารถสื่อถึงอารมณ์และบุคลิกของโมฮันได้เป็นอย่างดี
Swadesจึงเป็นภาพยนตร์หนึ่งในดวงใจของเรา เพราะไม่เพียงแต่เนื้อเรื่องที่กินใจและสะท้อนสภาพสังคมแล้ว นักแสดงเป็นส่วนหนึ่งที่สื่อและสร้างสีสันให้ภาพยนตร์น่าติดตามและเข้าใจการดำเนินเรื่องอย่างดี สามารถถ่ายทอดสำนึกของเราต่อบ้านเกิดเมืองนอน และเชื่อว่าถ้าพวกเราได้ดูภาพยนตร์เรื่องนี้แล้วจะทำให้คิดถึงบ้านของเราอย่างมาก ตัวภาพยนตร์เองก็ทำให้เราต้องตระหนักถึงสิ่งที่เราควรจะต้องทำให้กับบ้านเมืองของเรา ภาพยนตร์ได้นำเสนอความขัดแย้งของคู่ตรงข้ามระหว่างความเจริญทันสมัย และความล้าหลังของ เปรียบเทียบโลก2 โลกที่โมฮันต้องเผชิญและใช้ชีวิตอยู่บนโลกทั้งสอง นั่นคือ โลกแห่งเทคโนโลยีทันสมัยอย่างนาซ่า และโลกที่เต็มไปด้วยสีสันของการพัฒนาของอินเดีย ซึ่งโมฮันเองก็กำลังค้นหา “บ้าน” ซึ่งเขามองว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของอินเดีย ขณะเดียวกันสิ่งที่เลวร้ายที่สุดของอินเดียก็คือ ความยากจน , ระบบวรรณะที่ยังคงมีอยู่ และการขาดการศึกษา และนั่นทำให้เขาตัดสินเปลี่ยนแปลงชีวิตเพื่อทำอะไรบ้างอย่างเพื่อประเทศชาติของเขาเท่าที่ตนเองจะทำได้
ภาพยนตร์ได้นำเสนอ ประเด็นเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ของประเทศอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นความยากจน การแบ่งชนชั้นวรรณะ การกีดกั้นโอกาสทางการศึกษาของกลุ่มวรรณะต่ำ ความแห้งแล้ง แนวความคิดที่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีแบบดั้งเดิมที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ถูกมองผ่านสายตาของโมฮัน ที่มองเห็นและเกิดการเปรียบเทียบถึงรากเหง้าของปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งการดำเนินเรื่องของภาพยนตร์จะมีแง่มุมต่าง ๆ ที่เมื่อเราชมและฟังบทสนทนาแล้ว จะสามารถเข้าใจประเด็นที่ผู้กำกับต้องการนำเสนอเรื่องราวเพื่อพูดคุยกับผู้ชม
อย่างเช่น การถกเถียงกันระหว่างโมฮันกับกีตา
“...เป็นสิ่งที่ฝังลึกอยู่ในวัฒนธรรม ขัดขวางทำให้ความก้าวหน้าของประเทศ...” โมฮัน
“...ถ้าขาดจารีตและวัฒนธรรมแล้ว ชาติจะเหมือนร่างที่ไร้วิญญาณ...”
แสดงถึงความสำคัญของวัฒนธรรมจารีตประเพณีของสังคมทุกสังคมมีคุณค่าและมีความหมายต่อคนในสังคม เพราะถ้าคนในประเทศนั้น ๆ ไม่มีและไม่สามารถรักษาไว้ได้ก็เท่ากับว่าความเป็นตัวตนของเราได้หายสาบสูญไป ซึ่งเป็นนัยยะสำคัญของการกล่าวถึงว่า คุณจะเป็นใครหรือคุณจะอยู่ที่ไหน ที่สำคัญคุณก็คือคนของชาติที่คุณเกิด และชาติที่คุณเกิดจะบอกความเป็นคุณได้ก็ต้องมีวัฒนธรรมจารีตประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมา
นอกจากนี้ประเด็นของระบบวรรณะที่เป็นอุปสรรคของการพัฒนาประเทศอินเดีย ทำให้เกิดการกีดกั้นไม่ว่าจะเรื่องการศึกษา , การทำมาหากิน , การเมืองการปกครอง หรือแม้แต่เรื่องของการดูหนังกลางแปลงของคนในหมู่บ้าน ที่ถูกกั้นด้วยผ้า และจากเหตุการณ์ไฟดับ โมฮันได้เชิญชวนให้เด็ก ๆ และชาวบ้านดูดาวบนท้องฟ้า ซึ่งเปรียบเสมือนว่าทุกคนมีโอกาสได้ดูดาวบนท้องฟ้าเหมือนกัน อยู่บนพื้นที่ ๆ เดียวกัน เห็นดวงดาวเหมือนกัน และเมื่อนายไปรษณีย์ดึงผ้ากั้นออก ทุกคนก็อยู่รวมกันและสามารถเห็นดวงดาวรูปต่าง ๆ เหมือนกัน ซึ่งภาพยนตร์ได้แสดงถึงโอกาสของการเรียนรู้ของผู้คนที่เท่าเทียมกัน
และสิ่งที่มิอาจละเลยได้คือ ไฟฟ้า เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญ และคิดว่าเป็นเรื่องที่ต้องพึ่งพาจากภายนอกหรือรัฐบาล แต่สิ่งที่โมฮันร่วมทำกับชาวบ้านคือการสร้างฝายเก็บน้ำและผลิตกระแสไฟฟ้า โดยไม่ต้องพึ่งพาภายนอก แต่อาศัยกำลังแรงงานของผู้คนในหมู่บ้าน
นี่คือบางประเด็นเท่านั้นที่เรายกตัวอย่างขึ้นมากล่าวถึงอย่างสั้น ๆ ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความยาวถึง 210 นาที เนื้อหาดำเนินไปเรื่อย ๆ แต่มีความน่าสนใจน่าติดตามและไม่จัดว่าเป็นภาพยนตร์ที่มีเสียงเพลงและฉากเต้นเหมือนภาพยนตร์บอลลี่วู้ด (Bollywood) ทั่วไป เพราะมีเพียงแค่ 7 เพลงเท่านั้น แต่ประเด็นของเนื้อหาของเรื่อง การสื่อสารถึงผู้ชมเป็นการเชิญชวนให้ผู้ชมได้ร่วมคิดและพูดคุยกับภาพยนตร์นี้ได้อย่างน่าสนใจ
ฉะนั้นภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องการให้ผู้สนใจได้มีโอกาสได้ชม และคิดว่าน่าจะเป็นภาพยนตร์ในดวงใจของคุณอีกสักเรื่องหนึ่ง


Friday, February 9, 2007

ตลาดสดบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่


ตลาดสดบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ : บริโภค (เซ็กส์) สด ๆ เรื่องส่วนตัวหรือเรื่องสาธารณะกันแน่ ? [1]

(1)
ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเป็นช่วงที่เราได้รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศของหญิงชาย วัยรุ่นค่อนข้างมาก จนคิดอยู่เหมือนกันว่า เมื่อเราเจอใคร ๆ หรือแม้แต่นักศึกษา อาจารย์ในสำนัก ฯ จะต้องเล่าให้ฟัง ทำให้หลายคนไม่เข้าใจอาจจะคิดว่า “อาจารย์คนนี้เซ็กส์ขึ้นสมองหรือเปล่า ?” หรือ “อาจารย์คนนี้ไม่เข้าใจชีวิตวัยรุ่นเลย หัวเก่าจัง...” “อาจารย์เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว ...ไม่เห็นตื่นเต้นเลย” ทำให้เราเองก็ต้องกลับมานั่งคิดเหมือนกัน กับการตัดสินใจเขียนเรื่องนี้ดีหรือไม่ ? เพราะมันน่าเบื่อ หรือมันล่อแหลมต่อศีลธรรม หรือปล่อยมันไปแล้วแต่ใครจะคิด สังคมไม่ใช่ของเราคนเดียวไม่ต้องเอาธุระกับมันก็ได้ หรือว่าก็เราไม่มีลูก...สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็เกิดกับลูกหลานคนอื่น ไม่ใช่ลูกเรานี่หว่า.......
เรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่งในฐานะที่เรามาอยู่หัวเมืองทางปักษ์ใต้หลายเดือน ทำให้เมื่อเข้าไปในเมืองใหญ่ก็ทำให้ตามเหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่ค่อยจะทัน จะติดตามได้ก็เฉพาะในโทรทัศน์เท่านั้น ไม่ตื่นเต้นพอ...
ขณะนั่งบนรถ....เมื่อรถเหลียวเข้าถนนเพชรบุรีตัดใหม่....สงสัยว่า “เออะทำไมรถติดจัง ? น่าจะเป็นต้นเดือนด้วยมั้ง” เราเห็นหญิงสาววัยรุ่นหน้าตาน่ารักมาก แต่งตัวน่ารักน่าชัง บางคนหวาน บางคนเปรี้ยว บางคนดูดีสะอาด ใสซื่อบริสุทธิ์ ฯลฯ ... แล้วเราก็ได้ยินเสียงตอบมาว่า “พี่ไปเที่ยวกับหนูไม๊?” “พี่ราคากันเอง” ...ตลอดทางที่นั่งบนรถ แต่ก็ถึงบางอ้อเมื่อนึกถึงรายการถอดรหัส ทาง ITV และรายการหลุมดำ ช่อง 9 ที่เคยนำประเด็นบริเวณถนนเพชรบุรี ฯ มากล่าวถึง และเมื่อตัวเองนั่งรถผ่านก็คิดว่าน่านำมาเป็นประเด็นในการพูดคุยที่ต้องอาศัยข้อคิดหรือการตั้งคำถามที่ต้องการหาคำตอบจากผู้คนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะอาจารย์ นักศึกษาช่วยกันมอง ช่วยกันตั้งคำถาม และช่วยกันหาคำตอบทีว่าต่อไปเราจะต้องทำอะไรกันต่อไป.....เราจะต้องเตรียมพร้อมกับปรากฏการณ์นี้หรือไม่ ? อย่างไร ?

(2)
หากกล่าวถึง สภาวะความเป็นมนุษย์และส่วนสาธารณะ Hannah Arendt นักปรัชญาร่วมสมัยคนสำคัญในศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา ได้เสนอว่า มนุษย์มีพื้นฐานด้านกิจกรรมของอยู่ 3 ลักษณะ คือ งาน(work), การงาน(working) และการกระทำ(action) ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เกี่ยวพันกันเป็นเงื่อนไขต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ Arendt เรียกกิจกรรมทั้งสามนี้ว่า “Vita Activa”
[2] สภาวะความเป็นมนุษย์นี้มิใช่จำเป็นต้องมาจากเงื่อนไขทั้ง 3 เพียงด้านหนึ่งด้านใด Arendt ได้ขยายความไว้ว่า [3]

“ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้เข้าไปมีส่วนรวมนั่นมันก็ได้กลับมาเป็นเงื่อนไขต่อการดำรงอยู่ของเขาทันทีเช่นเดียวกัน…สภาวะวิสัยของโลก – วัตถุหรือลักษณะของสิ่งของ – และสภาวะความเป็นมนุษย์นั้นได้เอื้อซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพราะการดำรงอยู่ของมนุษย์เป็นสภาวะที่ถูกสร้างเป็นเงื่อนไขขึ้น และมันก็ไม่สามารถเป็นไปได้หากปราศจากสรรพสิ่งทั้งหลาย(things) พร้อมๆกันนั้นสรรพสิ่งทั้งหลายก็จะกลายเป็นกองปฏิกูลที่เหมือนไม่ได้เป็นโลก(a non-world) หากว่ามันไม่ได้เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสภาวะของการดำรงอยู่ของมนุษย์” (p.9)

ในเงื่อนไขของความเป็นมนุษย์นี้ไม่สามารถที่จะอธิบายจากคำถามที่ว่า “ เราคืออะไร”( What are we?) หรือ “เราคือใคร ?” ( Who are we ?) ด้วยเหตุผลง่ายๆ ก็คือ ไม่มีเงื่อนไขอันสมบูรณ์ของสภาวะของความเป็นมนุษย์ที่จะใช้อธิบายว่า ‘เราเป็นอะไร’ หรือ ‘เราคืออะไร’ ได้อย่างแน่นอน
[4] หรือเราอาจจะสรุปง่ายๆก็คือไม่มีธรรมชาติที่แท้จริงของความเป็นมนุษย์นั่นเอง กิจกรรมทั้ง 3 ที่ Arendt ได้กล่าวไว้ตั้งแต่ต้นจึงเป็นส่วนที่เกี่ยวโยงกันและก็ต่างเป็น subject (world of men )และ object (man made things)ของสภาวะความเป็นมนุษย์
เมื่อกิจกรรมทั้ง 3 ถูกอธิบายบนบริบทของ “เขตส่วนตัว”(the private ream)และ “เขตสาธารณะ”(the public ream) โดยเฉพาะบริบทหลังนี้เป็นส่วนสำคัญที่ Arendt ใช้อธิบายถึง สังคมสมัยใหม่ที่มีขอบเขตสาธารณะคือ ส่วนที่เป็นสังคม(society) ซึ่งในสังคมดั้งเดิมนั้นไม่มีส่วนนี้อยู่ Arendt เห็นว่า สิ่งหนึ่งของความสำคัญของสังคมสมัยใหม่คือการ แบ่งแยกของ “ขอบเขตส่วนตัว”และ “ขอบเขตสาธารณะ” โดยความหมายของ “สาธารณะ”(public)นั้น เห็นว่ามี 2 ลักษณะแม้ว่าจะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันแต่ก็ไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ที่ต้องร่วมอยู่ด้วยกันเสมอไป
ความหมายแรก “สาธารณะ” (the public) หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ “ปรากฏ”(appearance)ให้เห็นหรือได้ยินโดยทุกๆคนในสังคม และสามารถกระจายไปในวงกว้างได้มากที่สุด โดยที่ทุกคนในสังคมสามารถรู้เรื่องราวและประสบการณ์ของคนอื่นได้ดีพอๆกับที่คนอื่นก็สามารถรู้เรื่องราวของเรา ในอดีตก่อนสังคมสมัยใหม่การที่จะรู้จักกันได้จะเกิดในขอบเขตส่วนตัว และเราก็มักทึกทักว่าสิ่งที่เรารู้หรือแลกเปลี่ยนกันในปริมณฑลนี้ คือ ลักษณะของความจริง(a kind of reality) แต่ใน “สาธารณะ”นั่นจะกลับกัน เพราะแม้ความเป็นส่วนตัวและความเป็นปัจเจกจะลดลง แต่ความสามารถของการสื่อสารระหว่างบุคคลมีมากขึ้น และก็เปิดโอกาสต่อการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายมากขึ้น
[5] ปรากฏการณ์เหล่านี้คือลักษณะของ “public appearance” ที่ Arendt เห็นว่าเป็นสิ่งที่ควรเป็นอย่างทั่วไป(common)ในสังคมสมัยใหม่ [6]
ส่วนความหมายที่ 2 “สาธารณะ” (the public) หมายถึง โลก(world) โดยที่โลกนี้ไม่ได้หมายถึงโลกมนุษย์(earth)หรือธรรมชาติ(nature) หากแต่เป็นโลกในส่วนที่สัมพันธ์กับวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้น(human artifact) ในสิ่งเดียวกันนี้โลกแบบนี้ก็ หมายถึง ความสัมพันธ์ที่ดำเนินไปแล้วทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้ในสังคม เช่น ในโลกที่มนุษย์สร้างความสัมพันธ์ในแบบสังคมมวลชน(mass society) โลกแบบนี้หมายถึงโลกที่เรายากที่จะนับจำนวนสมาชิก และเป็นโลกที่ไม่สามารถใช้อำนาจในการรวบผู้คนได้ ดังนั้นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นพร้อม ๆกันในโลกแบบนี้คือ อยู่ร่วมกัน(together), มีความสัมพันธ์กัน(relate) และการแบ่งแยกกัน(separate) [7]
เราจะเห็นว่า “ส่วนสาธารณะ”(public realm)ที่ Arendt กล่าวถึงนั่น เป็นสิ่งสำคัญอันแสดงให้เห็นถึงสภาวะของความเป็นมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่ ส่วนสาธารณะเป็นได้ทั้งบริบทของ “งาน”(work), “การทำงาน”(working), “การกระทำ”(action) ซึ่งเป็นโลกที่มนุษย์สร้างขึ้น(human artifact) สิ่งเหล่านี้คือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นภายใต้โครงสร้างของสังคมที่มนุษย์แสดงตัวเองเป็นองค์ประธาน(subject)ของการกระทำทั้งหมด ตามแนวคิดของ Arendt สังคมสมัยใหม่นั่นมี “ขอบเขต”(realm)ที่แน่นอนเด่นชัดสามารถแบ่งแยกได้ รวมทั้งมีพัฒนาการของทั้งเขตส่วนตัว, ส่วนสาธารณะ, ส่วนสังคม ที่บ่งบอกถึงยุคสมัยได้
อย่างไรก็ดีนักคิดรุ่นหลังเห็นว่า เราไม่อาจแบ่งทั้งขอบเขต (realm) หรือปริมณฑล (sphere) ที่แน่นอนหรือยุคสมัยได้ สิ่งที่นักวิชาการรุ่นหลังนำมาใช้เป็นตัวแบบของการวิเคราะห์ คือ “พื้นที่”(space) โดยพื้นที่เราควรจะกล่าวถึงคือ การผลิตพื้นที่ (production of space) และ การสร้างภาพตัวแทน (representation) ในความหมายของ “พื้นที่” ซึ่งไม่ได้เป็นสรรพสิ่ง(things)ที่ต้องเป็นจริงเสมอไป หากแต่อาจเป็นเพียงพื้นที่เชิงจินตนาการซึ่งมนุษย์รับรู้ไว้(perceive)เท่านั้น อย่างไรก็ดีสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้มนุษย์มี “ปฏิบัติการ”(practice)
[8]ต่างๆกันในสังคม

(3)
ภาพของการ บริโภคเซ็กส์สด ๆ บริเวณริมถนนกำลังถูกตั้งคำถามว่า เป็นเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องสาธารณะกันแน่ เพราะแน่นอนเป็นปราฏกการณ์ที่เกิดขึ้นบนพื้นที่สาธารณะ “ถนน” สายหลักของกรุงเทพ ฯ ที่กำลังสะท้อนให้เห็นถึงสังคมการบริโภคที่ มนุษย์เราสามารถซื้อ-ขาย เสพ บริโภคทุกอย่างได้ โดยอ้างความถูกต้องและความชอบธรรมให้กับสิ่งนั้น ๆ ปรากฏการณ์ขึ้นที่เกิดขึ้นบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เป็นการอ้างความชอบธรรมของคนที่เข้ามาใช้พื้นที่เหล่านี้ แต่ความชอบธรรมที่เป็นข้ออ้างเหล่านี้ขึ้นอยู่กับเป็นของใคร ชุดของใครของมัน ไม่ว่าหญิงชาย คนขายหรือคนซื้อ วัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ เป็นต้น รวมถึงความหมายที่ถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่นั้น ได้ผ่านการแสดงออกของผู้คนที่ใช้พื้นที่เหล่านั้นอย่างไร ?
“เซ็กส์” กลายเป็นสินค้าที่ถูกสร้างความหมายขึ้น อีกทั้งกลายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่ถูกให้คุณค่าโดยสังคม และถูกควบคุมโดยพิธีกรรมที่สังคมกำหนด ในอดีตการกล่าวถึง “เซ็กส์” หรือ “การบริโภคเซ็กส์” เป็นเรื่องที่ปรากฏในปริมณฑลส่วนตัว เป็นเรื่องที่ถูกปกปิด และอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เข้ามาควบคุมอย่างเคร่งครัด รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงสภาวะความเป็นมนุษย์ ขณะที่ในปัจจุบัน เรื่อง “เซ็กส์” และ “การบริโภคเซ็กส์” ถึงขยายขอบเขตของพื้นที่และปริมณฑลที่เป็นสาธารณะมากขึ้น โดยมองว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ “ปรากฏ”(appearance)ให้เห็นหรือได้ยินโดยทุกๆคนในสังคม และสามารถกระจายไปในวงกว้างได้มากที่สุด โดยที่ทุกคนในสังคมสามารถรับรู้เรื่องราวและประสบการณ์ของคนอื่นได้ดีพอๆกับที่คนอื่นก็สามารถรู้เรื่องราวของเรา ดังนั้นการบริโภคและซื้อขายเซ็กส์ที่เกิดขึ้นบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ จึงเป็นสิ่งที่คาบเกี่ยวกับเงื่อนไขของการดำรงอยู่ของมนุษย์ในเรื่องของ “งาน” “การงาน” และ “การกระทำ” ของมนุษย์ ที่ถูกผลิตภายใต้พื้นที่สาธารณะ จนในที่สุดกลายเป็นกิจกรรมที่ดูเสมือนเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับนักเที่ยวผู้ชายที่มาให้ซื้อสินค้า และเป็นกิจกรรมของผู้ขาย-เด็กสาวซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ของการทำงาน บนพื้นฐานการแลกเปลี่ยนที่มีระบบทุนนิยมเข้ามาสนับสนุนการซื้อขายและการบริโภคสินค้าเหล่านี้
“สินค้า” ที่ถูกนำเสนอขายบนถนน ฯ กลายเป็นสินค้าทางเพศ โดยมี “ร่ายกาย” เป็นเครื่องมือของการสื่อสารระหว่างโลกของความจริงและความจริงเทียม และโลกของความเป็นส่วนตัวกับโลกของสาธารณะ นั่นก็คือ “ร่างกายของเด็กสาว” และ “แฟชั่นการแต่งกาย” เป็นอาวุธที่พยายามสื่อเชื่อมกับโลกส่วนตัวของพวกเขาเพื่อนำเสนอต่อสาธารณะ และการสนับสนุนชุดความคิดเชิงอุดมคติของผู้ชายที่มีต่อผู้หญิง โดยเฉพาะเด็กสาววัยรุ่นที่ต้องการปรุงแต่งและการนำเสนอแฟชั่นต่าง ๆ มาประดับตกแต่งร่างกายของตนเอง เพื่ออวดอ้างและเสนอว่าสินค้าของตนเองดีที่สุด และน่าสนใจที่สุด เพื่อเป็นการเชิญชวนให้เกิดการซื้อขายสินค้าเหล่านี้ขึ้นมา ในที่สุดปรากฏการณ์เหล่านี้กลายเป็น “พิธีกรรม” ที่สำคัญที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสนับสนุนสังคมการบริโภคของระบบทุนนิยม ที่มีความชอบธรรมมากขึ้นในสังคม การเป็นผลผลิตของพื้นที่และภาพตัวแทนที่ถูกนำเสนอเพื่อให้ผู้คนในสังคมรับรู้และสร้างจินตนาการต่อไป
บริเวณถนนเพชรบุรีตัดใหม่ จึงกลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่มีปฏิบัติการทางสังคม โดยอาศัยช่วงเวลาที่หลุดพ้นจากการทำงานงานบนสภาพความเป็นจริง เป็นพื้นที่ของการซื้อขายหรือตลาดที่ถูกสร้างเป็นตัวแทนที่แสดงถึงความเป็นชายขอบของสังคมเมืองในช่วงเวลาปกติ หรือแม้แต่เด็กสาวที่เป็นเสมือนผู้ขาย และผู้ชายเป็นเสมือนผู้ซื้อต่างก็ทำหน้าที่ของตนเองบนพื้นที่ ที่อาศัยการปฏิบัติการทางสังคมหรือพิธีกรรมที่ปลดเปลื้องตัวตนออกจากโลกของความเป็นจริงบนพื้นที่สาธารณะ

(4)
จากปรากฏการณ์เหล่านี้ กลายเป็นสิ่งที่มักจะถูกตั้งคำถามตามมาเสมอว่า “จะทำอย่างไรต่อไป ?” “จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้แบบไหนดี ?” หรือ บางคนก็หันกลับมาสนับสนุน ชมรมของคุณระเบียบรัตน์ หรือบางคนก็หันกลับมาสนับสนุนวิธีการแบบทาทายัง รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ต่างคิดหาหนทาง แต่หนทางเหล่านั้นมักจะเกิดจากคนที่ไม่มีประสบการณ์โดยตรง เกิดจากคนที่คิดว่าไม่ควรจะมีในสังคม เกิดจากคนที่ไม่ยอมรับความจริง เกิดจากคนที่หลอกตัวเองทั้งนั้น ทั้ง ๆ ที่เราควรจะต้องกลับมาหันหน้ายอมรับความจริง และไม่หลอกตัวเองก่อนดีกว่า แล้วจึงหาวิธีการแก้ไขร่วมกันโดยไม่โทษว่าเป็นเพราะคนโน้นคนนี้ หรือเป็นเพราะสิ่งโน้นสิ่งนี้ โดยเฉพาะโทษโลกภายนอกที่ไม่ใช่โลกของสังคมไทย ซึ่งคำกล่าวโทษเหล่านี้ค่อนข้างเชย และไร้สาระสิ้นดี
ดังนั้นเงื่อนไขบนสภาวะการดำรงอยู่ของมนุษย์บนปริมณฑลสาธารณะ มิอาจแยกระหว่างความเป็นส่วนตัวและความเป็นสาธารณะ เพราะทั้งสองพื้นที่หรือปริมณฑลเป็นสิ่งที่อยู่ควบคู่กันและต้องไปด้วยกัน อนึ่งในมิติของผู้ใหญ่ในสังคม หรือผู้มีอำนาจในสังคมไม่ใช่เป็นเพียงการใช้อำนาจที่ครอบคลุมหรือพยายามจะครอบงำสังคมเท่านั้น แต่ควรเข้าใจบริบทความจริงที่เกิดขึ้นในสังคมและยอมรับกับความจริงที่เกิดขึ้น เพื่อจะทำให้เราค้นพบว่า ความจริงเหล่านั้นคืออะไรกันแน่ จะเป็นหนทางหนึ่งที่สามารถนำเราไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกทิศถูกทาง ไม่ต้องงมเข็มในมหาสมุทร เพราะคำตอบที่ได้มิอาจหลุดพ้นจากพื้นที่ที่เป็นส่วนตัวและส่วนสาธารณะที่อยู่ภายในตัวตนของแต่ละคน ซึ่งมันเป็นทั้งส่วนที่เรียกว่า “Subject” และ “Object” ของเราทั้งสิ้น
สุดท้ายยังคงเชื่อคำพูดของกลุ่มเอ็มพาวเวอร์ที่ว่า “เด็กผู้หญิงที่ดี ไปได้เฉพาะสวรรค์เท่านั้น แต่เด็กผู้หญิงเลวสามารถไปได้ทุก ๆ ที่” และคำพูดเหล่านี้หากผู้ที่มีอำนาจมานั่งร่วมคิดกันจะพบว่า การจัดการปัญหาหรือความพยายามแก้ปัญหา ต้องอาศัยผู้ที่อยู่กับปัญหา ไม่ใช่ขอความคิดเห็นจากผู้ที่อยู่เหนือปัญหา และไม่เคยเผชิญกับปัญหา ทั้งนี้ต้องทำความเข้าใจสภาวะความเป็นมนุษย์บนพื้นที่สาธารณะด้วย


Fraser, Nancy.(1999) “Politic, Culture, and the Public Sphere: Toward a Postmodernism Concept”. Social Postmodernism. Nicholso, L. & Steven Seidman.(eds.) Cambridge: Universiti fo Cambridge Press
Gilroy, P.(1993) Black Atlantic.London: Verso
Habermas, J.(1989). The Structural Transformation of Public Sphere. New York :Polity Press
Hanna, Arendt.(1958) The Human Condition. Chicago:University of Chicago Press
Hall, S. (1996) ‘Introduction : Who Need Identity?’ in Questions of Cultural Identity. Stuart Hall & Paul Du Gay eds. London: Sage
(1997)‘Minimal selves’in Studying Culture: An introduction Reader.London: Arnold.
Hill, M. & Warren Montag. (2000). “Introduction”. Masses, Classes and The public Sphere. Hill, M. & Warren Montag(eds.) London:Verso
Jackson Peter (1999). , “Tolerant but Unaccepting : The Myth of a Thai Gay Paradise” in Peter Jackson and Nerida M.Cook.(eds.) Genders & Sexualities in Modern Thailand. Silkworm Books, Chiang Mai, Pp.226-242.
Kellner ,Douglas. “Habermas , The Public Sphere,and Democracy : A Critical Intervention. http://www.gseis.ucla.edu/faculty/kellner.html/accessed14/05/46

[1] ต้องการเสนอภาพนัยยะของการบริโภคสินค้าอีกรูปแบบหนึ่งบนพื้นที่สาธารณะที่ปรากฏขึ้นจริงในสังคมไทย อีกทั้งต้องการตั้งคำถามกับสังคมว่า “ความเป็นส่วนตัวกับความเป็นสาธารณะ” ในความจริงสามารถแบ่งแยกกับได้หรือไม่ ?
[2] Arendt The Human Condition. Chicago:University of Chicago Press 1958:7-8
Arendt อธิบายเพิ่มเติมว่าไม่ได้ใช้คำนี้ตามความหมายเดิม ความแตกต่างที่เขาอ้างถึงคือ ความหมายที่เขาใช้อิงไปทางแนวทางแบบปฏิบัตินิยม(pragmatism) มากกว่าที่จะหาตรรกะอันเป็นเหตุเป็นผลของประสบการณ์ของการกระทำ( ดูเพิ่มเติมในเล่มเดียวกัน, หน้า 17)
[3] Ibid , p.9
[4] Ibid ,11
[5] การเกิดขึ้นของ public sphere ในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 16 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของสังคมประชา(civil society)และการเรียกร้องปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยพวกกระฎุมพีดู Jurgen Habermas(1989), The Structural Transformation of Public Sphere
[6] Ibid ,50-51
[7] Ibid,:52-53
[8] แนวคิดเรื่อง “ภาคปฏิบัติ”(practice)ที่จริงก็แย้งกับ “การกระทำ”(action)ที่ Arendt กล่าวไว้ค่อนข้างมาก เพราะในขณะที่ action ยังสนใจในส่วนของแรงงานที่อธิบาย(describe)ภาวะวิสัย แต่ practice กลับสนใจไปที่ภาษาต่างหากที่รับรู้(perceive)ภาวะวิสัยที่มีลักษณะเป็นสัมพัทธ์(ดูข้อถกเถียงเพิ่มเติมใน Len Doyal & Roger Harris “The Practical Foundation of Human Understanding” New Left Review no.139,1983 และ Bourdieu, P,1977, Outline of a Theory of Practice.)

วัฒนธรรมมือถือ : ชีวิตที่ขาดเธอไม่ได้

วัฒนธรรมมือถือ : ชีวิตที่ขาดเธอไม่ได้[1]

ไม่อาจมีใครปฏิเสธได้ว่า “ไม่มีมือถือ” (โทรศัพท์) หรือ “ไม่รู้จักมือถือ”
“เห็นเครื่องใหม่ของเราหรือยัง ? รุ่นนี้ออกใหม่ล่าสุด ถ่ายภาพวีดีโอได้ด้วย ฟัง mp3 ได้ด้วย”
“คุณส่ง SMSเป็นหรือเปล่า...ช่วยฉันที”
“มือถือพี่มีกล้องถ่ายรูปหรือเปล่า...”
“เปลี่ยนมือถือบ่อย เพราะบ้าเห่อครับ...ผมสนุกกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีรุ่นไหนออกมาก็เปลี่ยนตาม...”
“ชอบเปลี่ยนมือถือ...มีรุ่นไหนออกใหม่ ๆ จะชอบไปดู ...แล้วเปลี่ยนทันที...เครื่องเก่าก็ขายต่อ...”

บทความนี้ต้องการนำเสนอหนทางหนึ่งของการศึกษาวัฒนธรรม (cultural studies) โดยมองว่า โทรศัพท์มือถือ มีผลต่อพัฒนาการของวัฒนธรรมร่วมสมัย (contemporary cultures) ถือว่าเป็นจุดหนึ่งที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนของสังคม ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ , การผลิต , การบริโภค ,การนำเสนออัตลักษณ์ตัวตน , เศรษฐกิจการเมืองและการจัดการระบบระเบียบกฏเกณฑ์ ทั้งนี้รวมถึงความเป็นเจ้าของและการควบคุมการใช้โทรศัพท์มือถือ บริษัทเครือข่ายโทรคมนาคม นโยบายของรัฐในเรื่องการจัดระเบียบการใช้โทรศัพท์มือถือ ความตื่นตระหนกเกี่ยวกับผลพวงที่เกิดจากรังสีสัญญาณโทรศัพท์มือถือ รวมถึงมารยาทหรือจรรยาบรรณในการใช้โทรศัพท์มือถือในสถานที่ต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เกิดจากการปะทะระหว่างเทคโนโลยี (โทรศัพท์มือถือ) กับมนุษย์ ที่มีผลกระทบซึ่งกันและกัน
ดังเราจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมหรือวัฒนธรรมบางอย่างของมนุษย์เปลี่ยนไป เช่นการสื่อสาร การพูดคุย ความบันเทิง รวมถึงพิธีกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญ ๆ ถูกสร้างนัยยะใหม่ ไม่เพียงแต่พฤติกรรมของมนุษย์เปลี่ยนแปลงเท่านั้น ตัวโทรศัพท์มือถือเองในฐานะที่เป็นเทคโนโลยีก็ถูกพัฒนาและเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมและทันต่อความต้องการของมนุษย์ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ข้อความสั้น ๆ เพื่อติดต่อกัน การฟังเพลงโดยไม่ต้องฟังจากวิทยุหรือโทรทัศน์ การพูดคุยกันหรือส่งเสียง รวมถึงรูปภาพต่าง ๆ ดังปรากฏการณ์ของการใช้ SMS (Short Messaging Service), Rington Music ,Personel Album ,Voice Mail เป็นต้น

มือถือกับชีวิตประจำวัน
จากคำสัมภาษณ์ของ กฤษณัณ งามผาติพงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการสายงานการตลาด บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส หรือ เอไอเอส “ประเทศไทยมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือประมาณ 20 ล้านคน หรือหนึ่งในสามของประชากรประเทศ และกำลังพัฒนาไปในทิศทางเดียวกันอย่างเร่งด่วน เรากำลังทำให้ไทยกลายเป็นชุมชนไร้สาย... เรามีเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเอง ซึ่งสามารถให้บริการในทุกด้านของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับชมโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ การจ่ายเงินซื้อสินค้า การส่งผ่านข้อมูลที่จำเป็นในการทำธุรกิจและบริการของโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่อื่น ๆ อีกมากมาย...”
[2]
โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือหรือเทคโนโลยีประเภทหนี่งที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสาร เป็นการส่งสัญญาณคลื่นและกลายเป็นสารให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง โทรศัพท์มือถือไม่เพียงเป็นแค่การรับ (ฟัง) และการส่ง (พูด) เท่านั้น แต่โทรศัพท์มือถือกลายเป็นเทคโนโลยีเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีความสำคัญมากกว่าใช้เพื่อการส่ง-รับเสียงโดยตรงเท่านั้น หากแต่มันได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าความเร็ว รูปแบบการใช้งานต่าง ๆ รวมถึงรูปแบบของการบริการผ่านโทรศัพท์มือถือเหล่านั้น ดังจะปรากฏให้เห็นถึงการใช้บริการในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูดที่สื่อสารผ่านเครื่องแล้ว เป็นVoice เสียงที่ฝากผ่านศูนย์ ฯ , ข้อความ SMS , email ,web ฯลฯ เป็นสิ่งที่สามารถอยู่ได้ทุกที่ทุกเวลา ในกลุ่มวัยรุ่นมีความนิยมใช้โทรศัพท์มือถือ ทำให้เกิดการใช้เวลาส่วนตัวค่อนข้างมาก หรือเวลาส่วนใหญ่ก็ถูกมองว่าสิ้นเปลืองไปกับการใช้มือถือ ไม่ว่า การพูดคุย การส่ง SMS การเล่นเกมส์ การฟังเพลง เป็นต้น
โทรศัพท์มือถือยังเป็นสัญลักษณ์แทนสถานภาพของผู้คนในสังคม รวมทั้งเป็นเครื่องแสดงรสนิยม แฟชั่นและสไตล์ของแต่ละคน เสมือนกับการสวมใส่เสื้อผ้าหรือการออกแบบเสื้อผ้า รวมถึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการติดต่อสัมพันธ์กันทางสังคม ระหว่างพ่อแม่ลูก ปู่ย่าตายายและหลาน เพื่อนพ้องน้องพี่ รุ่นพี่รุ่นน้อง เจ้านายลูกน้อง สามีภรรยา เป็นต้น หรือเพื่อนแก้เหงาและคลายเครียด โทรศัพท์มือถือกลายเป็นสิ่งที่นอกเหนือหรือเป็นมากกว่าเทคโนโลยี กลายเป็นสินค้าอุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่สร้างความหมายทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะสายสัมพันธ์ของผู้คนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม

“โทรศัพท์รุ่นไหนใช้แล้วสาวมองมากสุดตอนเนี้ยครับ”
[3]
“แม่ไม่ต้องมาก็ได้ แค่โทรมาก็พอ...ยุ่งยากเปล่า ๆ เหนื่อยก็เหนื่อย เดินทางไกลๆ..”
“คุณย่าเป็นยังไงบ้างครับ สบายดีน่ะครับ...ผมคงไปทำบุญงานเดือนสิบไม่ได้...”
“...เหงาจัง...คิดถึงน่ะ...โทรหาโบว์บ้างน่ะ...”
“พ่อค่ะ...พ่อส่งเงินให้หนูหน่อยสิ...อาจารย์สั่งให้ซื้อ text เล่มหนึ่ง ราคา 2,000 บาท ...พ่อส่งมา 3,000 น่ะเผื่อว่าจะไม่พอ...”

โทรศัพท์มือถือกลายเป็นอุปกรณ์ที่สร้างความสะดวกและย่นระยะเวลาและระยะทางของการติดต่อสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม แม้กระทั่งมีพูดถึงการใช้มือถือของคนกลุ่มต่าง ๆ เช่น กลุ่มหญิงสาวใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อช่วยให้สบายใจ กลุ่มหญิงสูงวัยใช้โทรศัพท์มือถือไว้ตามรอยสามี และกลุ่มนักศึกษาใช้โทรศัพท์มือถือสำหรับส่งข้อความ รวมทั้งกลุ่มนักเคลื่อนไหวที่ผ่านมาในอดีต (พฤษภาทมิฬ 2535) ก็ใช้โทรศัพท์มือถือตามเพื่อนมาร่วมประท้วงบนถนนราชดำเนิน
นอกจากตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือจะเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในการสื่อสารแล้ว แต่สิ่งที่สำคัญที่ซ้อนตัวอยู่ภายในตัวเทคโนโลยีเหล่านี้ คือการสินค้าบริการที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อรองรับการใช้เครื่องโทรศัพท์มือถือให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสินค้าวัฒนธรรมเหล่านี้ถูกผลิตขึ้นเพื่อรับใช้ความสะดวกสบายของการสื่อสารและสร้างสายสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม รูปแบบของสินค้าอุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่ถูกผลิตขึ้น โดยผ่านระบบการใช้โทรศัพท์มือถือ มีดังนี้
SMS (Short Massagin Service) หรือข้อความสั้น
“SMS” เป็นกิจกรรมหนึ่งบนโทรศัพท์มือถือ ที่กลายเป็นธุรกิจสำคัญและฐานของระบบอุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่สำคัญ ที่มีส่วนต่อชีวิตประจำวันของคนเรา ไม่ว่า การทำนายพยากรณ์ดวงชะตา , การหาเพื่อนใหม่ , การหาคู่ การค้นหารูปภาพสวย ๆ การทายปัญหาหรือตอบคำถามเพื่อชิงรางวัล เป็นต้น
“...คุณสามารถส่ง SMS อวยพรปีใหม่ได้สนุกและประหยัดยิ่งขึ้น...”
“ให้ส่งข้อความว่า...แล้วส่ง SMS มาที่.....แค่นี้ ! คุณก็จะได้รับคำทำนายทุกครั้งที่ตำแหน่งโคจรของดวงดาวทำมุมกัน...”
“ร่วมสนุกส่ง SMS แบบโดน ๆ มาประกวดกัน
“...“สดทันที่ที่มีข่าว” รายงานสดผ่าน SMS สู่หน้าจอมือถือ ถึงกว่า 200 ข่าวต่อเดือน...”
“Missed Cal Alert...ถึงปิดเครื่องก็รู้ได้ว่ามีใครโทรเข้า...” “...เคยอยากรู้มั้ย...??? ว่ามีใครโทรหาบ้าง ตอนที่คุณปิดเครื่องเพราะไม่สะดวกรับสาย หรือไม่มีสัญญาณ แถมคนที่โทรเข้ามาก็ไม่ได้ฝากข้อความใน Voice Mail Box แต่วันนี้ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป เพราะบริการ Missid Cal Alert อีกหนึ่งบริการดี ๆจะช่วยส่งข้อความถึงมือถือคุณ โดยแจ้งว่ามีใครบ้างโทรหาคุณขณะปิดเครื่อง...”
การให้บริการหรือการส่งข้อความสั้น ๆ จากโทรศัพท์เครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งเป็นการย่นระยะเวลาของการติดต่อ และประหยัดค่าใช้จ่าย กิจกรรมเหล่านี้เป็นการสร้างผลผลิตซ้ำอีกชุดหนึ่งในการส่งข้อมูลหรือข้อความไปหาผู้อื่น อีกทั้งธุรกิจบางธุรกิจนำกิจกรรมเหล่านี้มาเป็นรายได้ เช่น รายโทรทัศน์ต่าง ๆ นิยมตรวจสอบความนิยมของผู้ชมโดยการให้ส่ง SMS หรือการประกวดต่าง ๆ นิยมให้ผู้ชมร่วมโหวตหรือแสดงความคิดเห็นเข้ามา ซึ่งเป็นผลประโยชน์มหาศาล แต่ภายใต้กิจกรรมเหล่านี้กลายเป็นนัยยะสำคัญที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคได้รู้สึกถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเหล่านี้
และยังจะพบว่ามีข้อความสั้น ๆ ต่าง ๆ มากมายที่นิยม และสามารถดาวน์โหลดข้อความเหล่านั้นได้ โดยมีค่าใช้จ่ายในการโหลดข้อความเหล่านั้น ซึ่งจะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้กลายเป็นสินค้าวัฒนธรรมที่ถูกสร้างขึ้นสำหรับการบริโภค โดยผู้บริโภคสินค้าเหล่านี้ก็จะนำมาใช้เป็นอัตลักษณ์หรือความเป็นตัวตน เช่น
“เจ้าของสวยมาก” “หลับฝันดีนะ รักจ๊ะ” “ถ้ายังไม่ตาย ...โทรกลับด้วย”
“ห้ามคิดถึงใครนอกจากคนส่ง” “ปากบอก...แค่เพื่อน..แต่รู้มั๊ยว่า..รักเธอ”
“1234567...นับเท่าไหร่ก็ไม่หายคิดถึง”
นอกจากนี้ยังมีรูปภาพที่นิยมโหลดกันอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน รูปภาพหนุ่มหล่อสาวสวยแสนเซ็กส์ซี่ ภาพวิวทิวทัศน์ รวมถึงภาพส่วนตัวที่ควรอยู่ในที่ลับ เป็นต้น ภาพเหล่านี้กลายเป็นการนำเสนอความเป็นตัวตนของเจ้าของเครื่อง และภาษาสัญลักษณ์อีกชุดหนึ่งที่ต้องการสื่อถึงผู้รับ ซึ่งล่าสุดมีผู้ปกครองนักเรียกออกมาโวยว่า “ลูกนิยมดาว์นโหลดรูปภาพเซ็กส์ซี่ ทำให้ข้อมูลภาพต่าง ๆ เหล่านี้ถูกแพร่กระจายภายใต้บริบทและความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม

Ringtone หรือเสียงเรียกเข้า
Ringtone เป็นเสียงของโทรศัพท์มือถือ หรือเสียงเรียกเข้า เดิมเสียงเหล่านี้เป็นเพียงสัญญาณหรือเสียงสังเคราะห์ที่มีจังหวะและทำนองเท่านั้น ที่เรียกว่า Monotone ในปัจจุบันเสียงเหล่านี้ได้ถูกพัฒนากลายเป็นเสียงเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ เรียกว่า Polytone และเสียงจริง ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูด เสียงหัวเราะ ร้องไห้ และเสียงร้องเพลง เรียกว่า Truetone แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติความสามารถของการทำงานของโทรศัพท์มือถือแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ ซึ่งเสียงเหล่านี้กลายเป็นสินค้าวัฒนธรรมที่กลายเป็นความนิยมของกลุ่มวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น กลายเป็นกระแสของวัฒนธรรมสมัยใหม่ ที่ผู้คนกลุ่มเหล่านี้นิยมโหลดหรือสะสมเสียงต่าง ๆ เหล่านี้ และนิยมใช้บริการผ่านศูนย์บริการต่าง ๆ รวมถึงค่ายเทปใหญ่ ๆ ด้วย
“Ringtone เด็กดอยใจดี กด *81051006 แล้วกดโทรออก...”
“เปลี่ยนเสียงรอสายแบบเดิม ๆ เป็นเสียงดนตรี....เบื่อหรือยัง ? กับเสียงรอสายตู๊ด ๆ แบบเดิม ๆ มาเปลี่ยนเสียงรอสายเป็นเสียงดนตรีสุดฮ๊อต...แค่นี้...คนที่โทรหาคุณก็จะได้ฟังเพลงเพลิน ๆ ระหว่างรอสาย พิเศษ ! รับเพลงระหว่างรอสายฟรี ! ...”
“1-2-3 ถ้าไม่รับเราโกรธแล้วนะ”
“พี่สุดหล่อคร๊าบ...แฟนโทรมา”
“โอ้...พระเจ้าจอร์ชมันยอดมาก”
นอกจากนี้ยังมีเสียงบริการอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า Vocie Mail เป็นเสียงที่ช่วยสร้างความรู้สึกดี ๆ ประทับให้เกิดขึ้นกับผู้รับ แม้ว่าบางครั้งผู้รับไม่สามารถรับสายเข้าได้ ก็จะมีบริการฝากเสียงพูด
“…ส่งเสียงผ่านทุกความรู้สึกของคุณด้วย Vioce2U…จะอยู่ในอารมณ์อินเลิฟ หรืออารมณ์ไหน ๆ ก็บอกความในใจให้ใครคนนั้นรู้ได้เหมือนไปกระซิบข้าง ๆ หู กับบริการ “Voice2U”
“คิดถึงแจนนะครับ...หลับฝันดีนะ”
“ผมขอโทษ...ยกโทษให้ผมนะครับ”
“อยากไปอยู่ใกล้ ๆ จังเลย...”
“ส่งความรู้สึกดี ๆ จากคุณถึงผู้รับได้ทันที...เพราะทุกคำพูดมีค่ากับความรู้สึก อย่าเก็บความรู้สึกดี ๆ เอาไว้เพราะไม่อยากให้เสียงเรียกเข้าไปกวนใจผู้รับ
อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีการกล่าวถึงเสียงต่าง ๆ เหล่านี้ว่าเป็นเสียงที่ขาดสุนทรียะที่พยายามแพร่กระจายไปทั่วทุกมุมเมือง เสียงRingtone ได้แปรสภาพจากเสียงที่เคยอยู่ในพื้นที่ส่วนตัวกลายเป็นเสียงที่ถูกเติมและแสดงบนพื้นที่สาธารณะหรือเรียกว่า “การสร้างพื้นที่เสียงในเมือง”
โทรศัพท์มือถือมีรูปแบบเฉพาะของตนเอง ขึ้นอยู่กับเพศ อายุ ชนชั้น อาชีพ ทำให้เกิดวัฒนธรรมตัวตนขึ้น มือถือเป็นสื่อผ่านการแสดงออกของมนุษย์ ภายใต้ความเป็นสินค้าบริโภคที่เข้ามารับใช้กฎเกณฑ์ทางวัฒนธรรมของมนุษย์อย่างสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
โทรศัพท์มือถือ นวัตกรรมชิ้นสำคัญของโลกที่อาศัยคำสั่งเพียงปลายนิ้วมือ เป็นตัวกำหนดและสร้างจิตนาการให้กับมนุษย์เรา โทรศัพท์มือถือกลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญของมนุษย์เรา ตราบใดที่เราต้องการย่อโลกย่นเวลา ตราบนั้นโทรศัพท์ก็เป็นเรื่องสำคัญที่นำเราย่นระยะทางและระยะเวลาเพื่อความสัมพันธ์ของคนในสังคม โทรศัพท์กลายเป็นเครื่องมือเทคโนโลยีที่มนุษย์เราต้องอาศัยกลไกของมันผ่านข้ามห้วงพิศวงที่มนุษย์เราเป็นผู้สร้างมันขึ้นมา ด้วยเหตุนี้โทรศัพท์มือถือจึงเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนเราได้ ขณะเดียวกันพฤติกรรมของเราก็สามารถเปลี่ยนแปลงหรือกำหนดทิศทางการพัฒนาของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้เช่นกัน

[1] วัฒนธรรมมือถือ หรือ Mobile Phone Culture
[2] ดาหาชาดา “เมื่อชีวิตไร้สาย” National Geographic ฉบับภาษาไทย , ตุลาคม 2547 : น. 31-32
[3] T 3762309 smanu 324 (25 กย. 48 18.57.09) www.pantip.com

Thursday, January 25, 2007

หน่อกล้าของสังคมท่ามกลางพายุแห่งโลกาภิวัตน์[1]
ท่ามกลางวิกฤตของสังคม พายุแห่งโลกาภิวัตน์ถั่งโถมเข้ามา จนทำให้เราตั้งตัวไม่ติด บางคนหลงติดกับลมบน บางคนพริ้วตัวโอนอ่อนไปกับลม บางคนหายไปกับสายลม บางคนยืนแข็งต้านแรงปะทะของลม จนเหมือนกับโลกเรานี้ไม่มีแกน เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้เราไม่สามารถยืนได้อย่างมั่นคงและตรงได้ โดยเฉพาะหน่อกล้าใหม่ที่เพิ่งแตกหน่อ แตกยอดยิ่งซ้ำร้าย จะถูกดูดกลืนเข้าไปอยู่ในวังวนของพายุลูกนี้หมดหรือไม่ ?
ดูเหมือนว่าเป็นอุปมาอุปไมยที่ต้องการเปรียบให้เห็นว่า “นักศึกษา” เป็นเสมือนหน่อกล้าของสังคมที่เพิ่งแตกหน่อแตกยอดในช่วงเดือน ๖ ที่ต้องมาใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย เพื่อเข้ามาเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มากมายและที่แตกต่างจากสิ่งที่คุ้นชินมาก่อน การเรียนรู้ของเราอาจไม่ใช่เพียงเป็นการเรียนในห้องเรียนเท่านั้น แต่สิ่งที่เราได้มากกว่านั้นคือ การเรียนนอกห้องเรียน ซึ่งถือว่าเป็นประสบการณ์ที่เกิดจากการสัมผัสโดยตรง ไม่ว่าการเรียนรู้ชีวิตผู้คนต่างถิ่นต่างที่ ต่างสังคม เช่น พี่ ๆเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน ชาวบ้าน ชาวชุมชน และอาจารย์ ได้เรียนรู้หนทางการใช้ชีวิตเพื่อความอยู่รอดในสังคม ได้เรียนรู้ปัญหาและวิกฤตของชีวิตและสังคม เป็นต้น ซึ่งการเรียนรู้เหล่านี้เป็นการเรียนรู้ฉบับย่อที่เกิดขึ้นใน “รั้วมหาวิทยาลัย” เพียงแต่ว่าเราอยากจะเรียนรู้กับสิ่งเหล่านี้หรือไม่ ? พร้อมที่จะเรียนรู้หรือไม่ ?
ในชีวิตของหนุ่มสาวเปี่ยมล้นด้วยพลังที่มากมายไม่ว่าพลังบวกหรือพลังลบ เพียงแต่ว่าเราใช้พลังเหล่านั้นในทางสร้างสรรค์หรือไม่ ? เมื่อเรากลับมาดูสภาพในสังคมปัจจุบัน ปรากฏว่า หนุ่มสาวทุกวันนี้เข้าไปติดกับพายุแห่งโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะ “ลัทธิการประกวด” (Contestism) กลายเป็นค่านิยมสำคัญที่ต้องการแข่งขันเพื่อเอาชนะและความมีอำนาจเหนือบุคคลอื่น เราจะพบการประกวดเหล่านี้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเต้น การร้องเพลง ความสวย ความสามารถด้านต่าง ๆ ความเซ็กซี่ เป็นต้น ลัทธินี้จึงเน้นให้คนหนุ่มสาวเหล่านั้นมองแต่ตนเอง คิดแต่เรื่องของตนเอง กลายเป็น “ปัจเจกชนนิยม” จนลืมมองหรือเรียนรู้ผู้คน สัตว์และสิ่งของที่อยู่รอบ ๆ ตัวพวกเขา อีกทั้งไม่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับคน สัตว์ สิ่งของที่อยู่รอบ ๆ ตัว ๆเองและสังคมที่ตนอยู่ได้
ด้วยวิกฤตแห่งพายุโลกาภิวัตน์นี้เอง ชีวิตหนุ่มสาวในรั้วมหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบกระแทกอย่างรุนแรง จนเกิดปัญหาร่วมกันในสังคมคือ “พลังหนุ่มสาวหายไปไหน ?” “นักกิจกรรมหรืออาสาสมัครเพื่อสังคมยังคงมีอยู่หรือไม่ ?” “ทำไมเดี๋ยวนี้ไม่มีใครอยากเป็นนักกิจกรรมเลย ?” หรือ “ทำไมนักกิจกรรมทุกวันนี้ไม่มีคุณภาพเลย ?”
คำถามเหล่านี้กลายเป็นภาพสะท้อนว่า ปัจจุบันการทำงานเพื่อสังคม หรือการทำกิจกรรมเพื่อส่วนร่วมได้เปลี่ยนไป ส่งผลให้คิดว่ากิจกรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ตอบสนองเป้าหมายที่แท้จริง อีกทั้งคนที่เข้ามาทำงาน ณ จุดนี้ทำเพื่อขอไปที หรือทำเพื่อผลประโยชน์ที่ตนควรจะได้รับมากกว่าสังคมส่วนรวมจะได้รับ จากสภาพที่เกิดขึ้นนี้ หากเรามุ่งเน้นที่ตัวคน “พลังหนุ่มสาว” “หน่อกล้าใหม่” ของสังคมกำลังถูกทำลาย โดยเฉพาะ “การมีจิตสำนึกทางสังคม” ซึ่งน่าจะหมายถึง การรู้ว่าตนเองอยู่ตรงไหนในสังคม สิ่งแวดล้อม และเห็นความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสิ่งต่าง ๆ ในสังคม แม้ว่าการสร้างจิตสำนึกจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เราสามารถปฏิบัติได้โดยเริ่มต้น จากตัวเองก่อนเป็นสำคัญ นั่นคือ การรู้จักตนเอง รู้ว่าตนเองคือใคร ? กำลังทำอะไร? มีหน้าที่รับผิดชอบอะไรอยู่ ? รับรู้และอยู่ในโลกแห่งความจริง มีความรู้สึกร่วมรับผิดชอบในสิ่งที่กำลังปฏิบัติการอยู่ ต้องมีจุดยืนเป็นของตนเอง สามารถคิดสร้างสรรค์ มีฝัน และอย่าให้กรอบมาเป็นเส้นจำกัดจินตนาการของเราได้ และที่สำคัญ คือ “ตัวเอง” แต่อย่าหลงเมาอยู่กับตนเองจนลืมโลกภายนอกที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ไม่ว่าคน สัตว์ สิ่งของ ครอบครัว ชุมชน และสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ “ตัวเราเอง” ต้องเชื่อมโยงความสัมพันธ์เหล่านี้ให้ได้ โดยไม่ได้มองอย่างแยกส่วน หรือเฉพาะด้าน แต่มองอย่างองค์รวมที่เชื่อมสานต่อด้วยกัน
ทั้งนี้ทั้งนั้นเราเองมักได้รับอิทธิพลวิธีคิดแบบตะวันตก คือการแยกทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสองขั้ว หรือแยกทุกอย่างออกเป็นคู่ตรงข้ามตลอดเวลา อย่างเช่น แยกระหว่างคนกับธรรมชาติ การแยกระหว่างความเป็นส่วนตัวและสาธารณะ (Private and Public) ขณะที่โลกตะวันออกวิธีการมองที่แยกเป็นสองขั้วนั้นไม่แบ่งแยกออกจากกัน แต่ยังคงอยู่ร่วมกันเพื่อการสร้างสมดุลย์ให้เกิดขึ้นในระบบ วิธีคิดเหล่านี้แน่นอนเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลและมีความสำคัญค่อนข้างมากที่นักกิจกรรมหรืออาสาสมัครเพื่อสังคมควรจะมองและตระหนักถึงการสร้างระบบคิดและระบบการทำงาน ซึ่งที่ผ่านมามักพบว่า การทำงานของนักกิจกรรมหรืออาสาสมัครต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ นานา เช่น เมื่อมุ่งแต่งานส่วนตัวก็แสดงถึงความเห็นแก่ตัว ถ้ามุ่งแต่งานสาธารณะชีวิตส่วนตัวก็ล้มเหลว บางคนก็สนใจแต่เรียนอย่างเดียว บางคนเรียนบ้าง ทำกิจกรรมบ้าง (กิจกรรมนั่นต้องมีประโยชน์สำหรับฉัน) บางคนไม่เรียนมุ่งแต่ทำกิจกรรมอย่างเดียว เป็นต้น นั่นเพราะเรายังคงแยกแยะระหว่างกิจกรรมที่เป็นส่วนตัว (private) กับกิจกรรมที่เป็นสาธารณะ (public) ท้ายที่สุดแล้วไม่สามารถทำให้เราเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง ขาดความสมดุลย์ในระบบของตัวเองและสังคม ดังนั้นการเรียนรู้ที่แท้จริงจะต้องอยู่ท่ามกลางการปฏิบัติจริง จะช่วยให้เราหน่อกล้าใหม่ได้เปิดมุมมอง มีเครื่องไม้เครื่องมือในการมองสังคม สร้างคน เพิ่มพูนทักษะ ความคิดและเรียนรู้ให้ทำงานกับสังคมได้อย่างเต็มที่ โดยคิดว่ากิจกรรมส่วนตัวและสาธารณะเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำกิจกรรมและการเรียน รวมถึงชีวิตส่วนตัวเป็นเรื่องเดียวกัน อาจเรียกว่า “ภารกิจ (กรรม)ในชีวิตประจำวัน” จะทำให้เราไม่รู้สึกว่างานกิจกรรมสาธารณะเป็นส่วนเกินของชีวิต ไม่รู้สึกว่าเป็นภาระของตัวเอง หากว่าเราสนุกกับกิจกรรมสาธารณะที่ทำและดำเนินการเป็นเรื่องของชีวิตประจำวัน เฉกเช่น การกินข้าว การฟังเพลง การพูดคุยกับเพื่อน สิ่งเหล่านี้ก็จะกลายเป็นสมดุลย์ที่เกิดขึ้นกับเรา “หน่อกล้าของสังคม” อย่างมีคุณภาพ แม้หน่อกล้าเหล่านั้นจะถูกปะทะด้วยพายุ ก็ไม่ทำให้หน่อกล้าเหล่านี้กลายเป็น “ซากที่ไร้ชีวิต” แต่เป็นชีวิตที่มีจิตวิญญาณพร้อมที่จะต่อสู้และเผชิญกับพายุที่โหมกระหน่ำทุกวินาที
ดังนั้นหากหน่อกล้าใหม่ที่กำลังแตกยอด ต้องพร้อมที่จะต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรคที่เป็นเสมือนพายุที่โหมกระหน่ำ และเป็นหน่อกล้าที่เต็มเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณที่มีจิตสำนึกต่อสังคม
[1] สำหรับงานต้อนรับน้องใหม่ ๒๕๔๘ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

เวทีสาธารณะ : พื้นที่แห่งการสร้างตัวตนของหนุ่มสาว

เวทีสาธารณะ : พื้นที่แห่งการสร้างตัวตนของหนุ่มสาว ? [1]
สิริพร สมบูรณ์บูรณะ [2]

มีคำถามว่า “นักศึกษาทำอะไรกันอยู่ ?” “”บทบาทของนักศึกษาคืออะไร ?” “หนุ่มสาวของสังคมที่มีเรี่ยวแรงและทรงพลังหายไปไหน ?”
แต่ทว่า พวกเขาเหล่านั้นมิได้หายไปไหน พวกเขายังคงมีเรี่ยวแรงที่ทรงพลังล้นเหลือ แต่เพียงว่าพลังที่พวกเขามีนั้น พวกเขาต้องต่อสู้กับการถาโถมของกระแสลมโลกาภิวัตน์ ที่ทำให้พวกเขาติดลมบน สนุกกับการโต้ลมหรือล้อเล่นกับลม โดยคิดว่าลมนี้จะสามารถพยุงพวกเขาไว้ได้ หรือไม่ก็พัดพาพวกเขาไปตามหาฝัน โดยไม่คิดว่า ลมนี้จะก่อตัวเป็นพายุที่เต็มไปด้วยห่าฝน ที่จะทำให้พวกเขาเปียกปอนจนตกลงมา หรือลมนั้นจะทำให้พวกเขาลอยล่องหายไปในห้วงอากาศที่อ้างว้าง ด้วยภาวะเหล่านี้เปรียบได้กับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น นั่นคือ
สภาพสังคมปัจจุบัน ปรากฏว่า หนุ่มสาวทุกวันนี้เข้าไปติดกับพายุแห่งโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะ “ลัทธิการประกวด” (Contestism) กลายเป็นค่านิยมสำคัญที่ต้องการแข่งขันเพื่อเอาชนะและความมีอำนาจเหนือบุคคลอื่น การประกวดเหล่านี้มีรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเต้น การร้องเพลง ความสวย ความเซ็กซี่ รวมทั้งความสามารถด้านต่าง ๆ เป็นต้น ลัทธินี้จึงเน้นให้คนหนุ่มสาวเหล่านั้นมองแต่ตนเอง คิดแต่เรื่องของตนเอง กลายเป็น “ปัจเจกชนนิยม” จนลืมมองหรือเรียนรู้ผู้คน สัตว์และสิ่งของที่อยู่รอบ ๆ ตัวพวกเขา อีกทั้งไม่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับคน สัตว์ สิ่งของที่อยู่รอบ ๆ ตัวเองและสังคมที่ตนอยู่ได้
ที่ผ่านมามีการประกวดและเกมส์แข่งขันมากมายที่ถ่ายทอดทางสื่อโทรทัศน์ ไม่ว่าจะเป็นการประกวดมิสยูนิเวิร์ส หรือมิส/มิสเตอร์ต่าง ๆ นาง/นายแบบ (Top Model) การแข่งขันร้องเพลง The Star การแย่งชิงการใช้ชีวิตภายในบ้าน Big Brother การแข่งขันการเป็น AF ขวัญใจของคนทั้งประเทศ เป็นต้น การประกวดหรือการแข่งขันเหล่านี้กลายเป็นการนำเสนอหรือการแสดงความจริงให้กับสังคมรับรู้ หรือที่เรียกว่า Reality Show เท่ากับเป็นการสะท้อนถึงความพยายามนำเสนอตัวตนหรืออัตลักษณ์ของตนเองในรูปแบบต่าง ๆ โดยผ่านสื่อ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่รวดเร็วที่สุดในการประชาสัมพันธ์ตนเองและเป็นทางลัดที่ดีที่สุดของการแสดงตัวต่อสาธารณะ
ไม่เป็นที่แปลกใจมากนักว่า ทำไมการปฏิบัติการเหล่านี้ เรามักจะพบว่า ผู้คนหรือคนรุ่นใหม่นี้มักจะลืมสุภาษิตของไทยที่ว่า “ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม” นั่นคือเมื่อจะทำอะไรสักอย่างหนึ่งหรือต้องการอะไรสักอย่างหนึ่ง ต้องการสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างสำเร็จรูป ไม่ต้องรู้ที่มาที่ไป หรือรากเหง้าสิ่งเหล่านั้นมากนัก ขอให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นและสำเร็จโดยเร็วและเร่งด่วน ไม่ต้องคิดอะไรมากมาย การเรียนรู้ก็ไม่จำเป็นต้องผ่านหรืออาศัยกระบวนการมากนัก ขอเพียงแต่บอกมาสำเร็จเสร็จเลยก็ยิ่งดี !
ฉะนั้นการประกวดหรือการแข่งขันจึงถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ง่ายมากที่จะทำให้ตนเองได้รับรางวัล หรือเป็นเรื่องที่ง่ายมากที่ต้องการแสดงตัวต่อสาธารณะได้อย่างรวดเร็ว และถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสุดยอดของชัยชนะในชีวิตที่ต้องการ กลายเป็นค่านิยมที่ถือว่าเป็น “จุดสุดยอด” ของหนุ่มสาว หรือนักศึกษา นอกจากการเล่าเรียนที่พ่อแม่คาดหวัง แต่รวมถึงกิจกรรม ที่มุ่งเน้นการนำเสนอภาพพจน์ ของตนเองเป็นหลัก ที่นำไปสู่ความภาคภูมิใจและประสบการณ์ที่มีค่าที่เกิดขึ้นกับตนเองและวงศ์ตระกูล รวมถึงการสร้างวาทกรรมที่อาจเรียกว่า “เสมือนจริง” มากกว่าจะเรียกว่า “เป็นความจริง” เพราะสิ่งเหล่านี้ได้ถูกจัดตั้งปั้นแต่งพร้อมที่จะเสพหรือบริโภคได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการอะไรมากนัก ในที่สุดกลายเป็นความเคยชินกับสิ่งที่พร้อมบริโภคหรือ “สำเร็จรูป”
อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ มิได้เป็นการกล่าวโทษหรือหาผู้รับเคราะห์กรรมที่เป็น “นักศึกษาหรือหนุ่มสาว” แต่เพียงอย่างเดียว แต่สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากความรู้ไม่เท่าทันและกระแสสังคมเองเป็นผู้นำพาไป บางครั้งทำให้เกิดการอ่อนล้า หรือไร้เรี่ยวแรงที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้ ต่อต้าน หรือต่อรอง แต่กลายเป็นการจำนนต่อภาวะที่เกิดขึ้น
ดังนั้น “บนพื้นที่ทางสังคม” ที่ถูกสร้างขึ้นสำหรับคนหนุ่มสาวหรือนักศึกษา แม้ว่านับวันจะยิ่งมีมากขึ้น แต่การมีเพิ่มมากขึ้นไม่ได้หมายความว่ามันหลากหลาย แต่มันถูกผลิตซ้ำแล้วซ้ำอีก เหมือน ๆ เดิม ทำให้การเผยร่างหรือการปรากฏของนักศึกษาบนพื้นที่สาธารณะเป็นเพียงพิธีกรรมหนึ่งที่ต้องการแสดงให้เห็นถึงบทบาทที่ตนเองอยากจะเป็น หรือการสวมหัวโขน อันมีจุดยืนที่แสดงความเป็นตัวของตัวเอง เพื่อตัวเอง และโดยตัวเอง ที่ซ้ำไปซ้ำมา จนกระทั่งพิธีกรรมเหล่านี้กลายเป็นพื้นที่ของการสร้างตัวตนของหนุ่มสาว ไม่ว่าพื้นที่แห่งนั้นจะเป็นพื้นที่ส่วนตัวหรือพื้นที่สาธารณะ
อาจกล่าวได้ว่า “พื้นที่สาธารณะ” ในที่นี้หมายถึง “เวทีประกวด” ที่ต้องการประชันขันแข็ง และนำเสนอตัวตน การยอมรับจากผู้คนในสังคม ที่เรียกว่า “แฟนคลับ” หรืออีกนัยยะหนึ่ง เวทีประกวดก็เป็นพื้นที่ที่สามารถทำให้ผู้คนโดยเฉพาะหนุ่มสาว/นักศึกษาเหล่านี้ ในฐานะผู้ไร้อำนาจได้มีโอกาสแสดงตัวตนและกำหนดบทบาททางสังคมของตนเองได้ ทำให้ดูเสมือนว่า เป็นการปลดปล่อยผู้ที่เข้าร่วมจากเดิมที่ถูกผูกมัดทางโครงสร้าง และความไม่เป็นธรรมในสังคม ได้มีโอกาสเข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมบนเวทีประกวดด้วย แต่การปลดปล่อยนั้นกลายเป็นการเน้นหรือให้ความสำคัญเรื่อง “สิทธิส่วนบุคคล” ในมิติที่เน้นตัวตนของตนเอง นั่นคือ เรื่องของฉัน สิทธิ์ของฉัน ฉันจะทำ ! ทำไม ฉันไม่แคร์... จนกลายเป็นความพลาดทางความคิดบนหลักเหตุและผลของความหมายที่แท้จริงของ “สิทธิและหน้าที่” ของหนุ่มสาว/นักศึกษาในปัจจุบัน
ซึ่งหากจะกล่าวถึงพื้นที่สาธารณะในฐานะที่เป็น “ปริมณฑลสาธารณะ” [3] หมายถึง ที่ ๆ ที่ทำหน้าที่เปิดกว้างของการถกเถียงด้วยเหตุผล (Rationality) ที่ทำให้พลเมืองสามารถใช้สิทธิในส่วนความเป็นประชาสังคมในการตรวจสอบภาครัฐ โดยมีการยอมรับหลักการของการมีส่วนร่วมในระบบประชาธิปไตย (Democratic Participation) มีเสรีภาพในการพูด (Freedom of Speech) และให้หลักประกันต่อสิทธิทางการเมืองของกลุ่มคนต่าง ๆ” และบนพื้นฐานของความเป็นเหตุผลนี้ นำเราสู่เวทีสาธารณะที่วางรากฐานให้ภาคสังคมก่อตัวเข้มแข็งขึ้น และช่วยฟื้นฟูการมีส่วนร่วม เพื่อต่อรองกับอำนาจเชิงโครงสร้างไม่ว่าจะเป็นรัฐ หรืออำนาจการตลาดที่ต้องการครอบงำผู้คนในสังคม โดยเฉพาะในภาวะปัจจุบันสังคมแบบหลังสมัยใหม่ (Postmodern Society) ที่มุ่งให้ผู้คนมีความเป็นปัจเจกชนสูง มีความสุขกับการบริโภค อยู่รวมกันอย่างเสแสร้าง (Fake) ทำให้ผู้คนหลงลมอยู่กับความไม่จริง หรือเสมือนจริงจนคิดว่า นั่นคือความจริง ก็จะทำให้เกิดความชัดเจนมากขึ้นถึง การสร้างข้อถกเถียงหรือข้อเรียกร้องต่อสาธารณะและการนำเสนอตัวตนต่อสาธารณะบนหลักการของประชาธิปไตย
ขณะเดียวกันก็เป็นที่น่าสังเกตว่า ในทุกยุคทุกสมัยที่มีการเรียกร้อง “จิตสำนึกทางการเมือง” [4] กลุ่มคนที่ถูกตั้งคำถามถึงในช่วงเวลา 20-30 ปีที่ผ่านมาคือกลุ่ม “ปัญญาชน” หรือ “กลุ่มพลังนักศึกษา” ที่เป็นกลุ่มคนจำนวนมาก ก็ยังคงเป็น “ความหวัง” ที่คนรุ่นเก่า ๆ ต่างมองด้วยสายตาที่เต็มไปด้วยความรู้สึก “ผิดหวัง” ความผิดหวังที่กลุ่มปัญญาชนที่มีการศึกษาสูงกลุ่มนี้กลับเป็นกลุ่มทางสังคมที่ขาด “จิตสำนึกทางการเมือง” เป็นกลุ่มคนที่ไม่มีความกระตือรือร้น หรือสนใจกับ “ปัญหาของประเทศ” เพราะในอดีตที่ผ่านมา สังคมไทยได้อาศัย “พลังของนักศึกษา” เป็นกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนทางสังคมมาโดยตลอด
นักศึกษาในปัจจุบันต่างให้ความสนใจกับโลก “ส่วนตัว” ที่มีวงอันจำกัด สนใจในกลุ่มของตนเอง สนใจในเรื่องราวของตนเอง และมองสิ่งที่นอกเหนือจากกลุ่มของตนเป็น “เรื่องอื่น” ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ต้องยอมรับว่า “สังคม” เกิดการ “เปลี่ยนแปลง” จากสังคมที่มีความเข้มแข็ง เต็มไปด้วยศีลธรรมอันดีงามได้กลายเป็นสังคมแห่ง “วัตถุนิยม” และกลายเป็นสังคม “บันเทิงนิยม” ข่าวสารที่ผ่านสื่อต่างๆ ให้กลุ่มปัญญาชนได้รับรู้ จึงเป็นเรื่องราวที่เน้นความสนุกสนานที่ไม่มีสาระเป็นหลัก ข่าวที่เกี่ยวข้องกับ “การเมือง” เป็นเพียงหัวข้อสุดท้ายที่กลุ่มวัยรุ่นจะพูดถึง
เมื่อสังคมไทยขาดพลังนักศึกษาที่ควรจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบ สังคมไทยจึงเข้าสู่สภาวะการขาดซึ่ง “จิตสำนึกทางการเมือง” อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยเหตุที่ “ชนชั้นกลาง” มีพลังที่อ่อนแรงลงเรื่อยๆในการเรียกร้อง “ความชอบธรรม” และความถูกต้องทางการเมือง ประกอบกับ “พลังของนักศึกษา” ระดับปัญญาชนที่มี “ค่าเป็นศูนย์” สังคมไทยจึงเข้าสู่ยุคของการเมืองไทยที่ “ขาดการตรวจสอบ[5]
ดังนั้นเราหนุ่มสาวเหล่านักศึกษาทั้งหลายอาจต้องกลับมานั่งไตร่ตรองถึงภาระอันหนักอึ้งที่สังคมคาดหวังหรือมอบหมายให้เรา และสิ่งที่สังคมมอบหมายให้นั้นมีคุณค่ามากน้อยเพียงใด ? และพวกเราจะต้องกลับมานั่งคิดอีกว่า แล้วจะทำอย่างไรต่อไป เพื่อให้สังคมเกิดความเข้มแข็ง และสร้าง “ปริมณฑลสาธารณะ” ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยเฉพาะการเปิดกว้างทางความคิดและการถกเถียงด้วยเหตุผล บนพื้นฐานของสิทธิในความเป็นประชาสังคม ที่คนหนุ่มสาวควรได้ทำหน้าที่ในการตรวจสอบรัฐและเอกชนที่มุ่งหวังจะเอาเปรียบคนในสังคมเดียวกัน
[1] เอกสารสำหรับโครงการ สัมมนาสภานิสิต-นักศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วันที่ 10 – 13 พฤศจิกายน 2549 ณ ท่าศาลา นครศรีธรรมราช
[2] อาจารย์ประจำสำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช
[3] Kellner ,2003 : p.5
[4] กาลัญ วรพิยุต มติชน ฉบับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549

จากฟรอยด์...ถึง...ชินจัง

จากฟรอยด์ … ถึง … ชินจัง : การ์ตูน เด็ก เซ็กส์ และศีลธรรม[1]

สิริพร สมบูรณ์บูรณะ[2]

(1)
การ์ตูนเป็นสิ่งที่ถูกให้ความสำคัญว่าเป็นเครื่องบันเทิงใจ สนุกสนาน ตลกขบขัน เป็นเรื่องที่ไร้สาระ เป็นเรื่องของจินตนาการ (fantasy) ของมนุษย์ที่หาสาระและความจิรงไม่ได้ แต่ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในสังคมนั้น ๆ ซึ่งบางครั้งการ์ตูนได้กลายเป็นทางออก (social outlet) ของความขัดแย้งและกฎเกณฑ์ทางสังคม อย่างเช่น ความขัดแย้งภายในครอบครัว ทางออกสำหรับความกดดันของเด็กและวัยรุ่น หรืออาจกล่าวได้ว่า ช่วยลดความตึงเครียดลงได้ นอกจากนี้ส่วนของเนื้อเรื่องของการ์ตูนเองก็มีส่วนสัมพันธ์กับความจริง (reality) ความรู้ แง่คิด และคุณธรรม ในสังคมนั้น ๆ อย่างลึกซึ้ง เช่น การแสดงความสัมพันธ์ของครอบครัว ความเป็นเพื่อน การทำงานของหญิง-ชาย วัฒนธรรมของผู้คนแต่ละกลุ่มแต่ละวัย เป็นต้น
สังคมไทยพบว่า การ์ตูนญี่ปุ่น[3] เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ หรือภาพยนตร์โทรทัศน์ จนกลายเป็นที่เกรงกลัวของผู้ใหญ่ เกิดการวิพากวิจารณ์ต่าง ๆ นานา
แต่ใช่ว่าสิ่งที่เด็กและวัยรุ่นรับจากการ์ตูนญี่ปุ่นจะติดลบเสมอไป เพราะการ์ตูนอาจจะสอดแทรกค่านิยม บรรทัดฐานบางประการให้แก่เด็ก โดยที่เด็กรับไว้อย่างไม่รู้ตัวก็ได้ เช่น “ความดีย่อมชนะความชั่วเสมอ” “ความซื่อสัตย์” “ความกตัญญูกตเวที” “ความจงรักภักดี” “ความขยันหมั่นเพียร” “ความมานะพยายาม” เป็นต้น อีกทั้งเป็นการสนับสนุนจินตนาการของเด็ก เพราะเด็กทุกคนมีจินตนาการ หากมีการส่งเสริมอย่างถูกวิธีจินตนาการนั้นก็จะเจิรญงอกงามไปในทางที่เป็นประโยชน์แก่เด็กและสังคม เด็กจะเกิดความมั่นใจและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
บทความนี้ผู้เขียนนำเสนอการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง “เครยอน ชินจัง” [4](Crayon Shin-chan) ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา (2539) พบว่า การ์ตูนชินจังเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นไทย และพบว่าหนังสือการ์ตูนเรื่องนี้ถูกตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์หลาย ๆ สำนักพิมพ์ อีกทั้งมีการฉายเป็นภาพยนตร์ทางโทรทัศน์ จนกระทั่งมีการวิพากษ์วิจารณ์ผ่านสื่อถึงความไม่เหมาะสมของภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้เพราะเป็นการนำเสนอความก้าวร้าว ความทะลึ่งของด็ก และเรื่องเพศ ทำให้มีความพยายามห้ามเผยแพร่ทางโทรทัศน์ จนทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเวลาออกอากาศ
ดังนั้นภายใต้บริบทของการกล่าวถึงตัวการ์ตูนที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มคนในสังคม ผู้เขียนจึงสนใจที่จะค้นหาความเป็นตัวแทนของความจริงโดยผ่านภาพตัวการ์ตูน และที่สำคัญการวิเคราะห์บุคลิกและพฤติกรรมของชินจังผ่านแว่นตาของฟรอยด์ [5] ซึ่งผู้เขียนคิดว่าเป็นมุมมองหนึ่งที่มักจะถูกละทิ้งเสมอกับการยอมรับภาพความเป็นจริงกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับเด็กชายวัย 3-5 ขวบ ทั่ว ๆ ไป [6]

(2)
“เครยอน ชินจัง” เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น วาดโดย Yoshto Usui ในปี ค.ศ. 1992 พิมพ์ขึ้นครั้งแรกเป็นหนังสือรายสัปดาห์ โดยสำนักพิมพ์ Futabasha Publishers Ltd. และเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์ฉายเป็นตอน ๆ ละครึ่งชั่วโมง ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากจนมีการสะสมหนังสือขึ้นโดยกลุ่ม Japanese manga fan เมื่อครั้งนำเสนอทางโทรทัศน์ญี่ปุ่นช่วงแรก มักจะถูกถามว่า ทำไมดูประหลาด ๆ ? ทำไมถึงนิยมกันมากมาย ? เพราะดูแล้วรูปแบบการวาดก็ง่าย ๆ ใช้สีวาดธรรมดา แต่บางคนก็บอกว่าเมื่อดูไปแล้วรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่สนุก แปลก ๆ น่าสนใจดี เพราะผู้วาดได้นำเสนอนัยยะความจริงผ่านอาร์ตเวอร์ค (artwork) ใช้วิธีการวาดรูปแบบ mumbo jumbo และแสดงความตลกขบขันได้อย่างชัดเจน รู้จักเล่นสำนวนในการพูดคุยของตัวละคร และที่สำคัญนำเสนอเรื่องง่าย ๆ คือ เรื่องครอบครัว “family show” นำเสนอได้อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะพฤติกรรมของเด็กชายวัย 5 ขวบ ภายใต้จิตไร้สำนึกและจิตใกล้สำนึกในส่วนของแรงขับทางเพศ ในมุมมองแบบฟรอยด์เดียนส์ (Freudians) นอกจากบุคลิกลักษณะของชินจังเองถูกนำเสนอในฐานะตัวแทนบทบาทเชิงลบของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการกระทำ การพูดจาที่ไม่เหมาะสมของวัยเด็กทั่วไป และได้กลายเป็นสิ่งที่เด็กได้นำไปเลียนแบบ [7]
แต่ความนิยมการ์ตูนเครยอน ชินจัง (Crayon Shin-Chan Manga) มิได้มีเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น ปรากฎว่าได้แพร่หลายอย่างมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย (ไกลถึงอเมริกาก็มี) จากการค้นคว้าข้อมูลในเวปไซด์พบว่า โฮมเพจ (homepage) ของการ์ตูนชินจัง [8] แนะนำหนังสือชินจัง รูปภาพชินจัง รู้จักตัวละคร (ครอบครัว พ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อนร่วมชั้นเรียน คุณครูที่โรงเรียน และบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชินจัง) และได้มีรายชื่อของผู้ที่แสดงความคิดเห็นและชื่อชอบชินจังเข้ามามากมาย ในหัวข้อ “Guest book Shin-chan homepage” พบว่า ผู้ที่แสดงความคิดเห็นเป็นเด็กและวัยรุ่น เช่น

Melvin Tan เด็กชายอายุ 10 ขวบ จากสิงคโปร์ (2/14/1998) “He is very … very cute. He has a very unique face.”
เด็กชายอายุ 9 ขวบ จากอินโดนีเซีย (2/13/1998) “I like Crayon Shin-chan, because crayon is very cute, I love Crayon”

สำหรับในประเทศไทย ได้มีการตีพิมพ์โดยหลายสำนักพิมพ์ เช่น จัมโบ้ MAG Group และทีเอ็นจี พับลิชชิ่ง และได้มีการยืนยันว่าเป็นของแท้ โดยการใช้ข้อความว่า “ฉบับลิขสิทธิ์” และแม้ว่าจะไม่มีผู้สำรวจความนิยมเรื่องชินจัง แต่สังเกตได้จากความนิยมในการอ่านหนังสือ ซึ่งมีการตีพิมพ์เฉพาะสำนักพิมพ์ ทีเอ็นจี พับลิชชิ่ง จำกัด [9] การชมโทรทัศน์ (ทีวีช่อง 3) และการนำเสนอผ่านสินค้าประเภทต่าง ๆ (ตุ๊กตา นม ขนม สติ๊กเกอร์ กล่อง กระป๋องออมสิน ยางลบ ดินสอ จิ๊กซอว์ ฯลฯ) เพื่อสนองตอบการบริโภคของกลุ่มเด็กและวัยรุ่น และเมื่อมีการพูดคุยกับกลุ่มเด็กและวัยรุ่นที่ชอบการ์ตูนชินจัง มักจะบอกว่า “สนุกดี” “น่ารัก” หรือถ้าถามว่า “ทะลึ่งหรือไม่” ก็จะตอบว่า “ธรรมดา … ไม่เท่าไร” และในกลุ่มที่นิยมอ่านการ์ตูนชินจังนี้ ปรากฎว่าเป็นกลุ่มนักเรียนมัธยม (ต้น-ปลาย) และนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยมากกว่าเด็กเล็ก หรือเด็กระดับประถม
ขณะที่กลุ่มผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้ปกครองไม่ชอบพฤติกรรมของชินจัง และมักจะห้ามลูกหลานไม่ให้ดูหรืออ่านการ์ตูนเรื่องนี้ (แต่ไม่ห้ามถ้าจะซื้อสินค้าที่มีรูปชินจัง) จนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ นานา เพราะมองว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดีสำหรับเด็ก ทะลึ่ง ไม่เหมาะสมกับเด็ก (เพราะนำเสนออวัยวะเพศ) จึงเกรงว่าเด็กอาจจะเกิดการเลียนแบบพฤติกรรมเหล่านี้ ซึ่งในสายตาของผู้ใหญ่หรือสังคมถือว่าเป็นสิ่งที่ผิด

ภาพวาดชินจัง Crayon Shin-chan
การ์ตูน “เครยอน ชินจัง” [10] เป็นเรื่องราวของเด็กชายวัย 5 ขวบ ซึ่งมีชีวิตแบบเด็กธรรมดาในยุคปัจจุบัน ที่อยู่ในครอบครัวเดี่ยว (มีพ่อ แม่ และลูก) พ่อเป็นนักธุรกิจ [11]หรือพนักงานกินเงินเดือนที่ต้องทำงานหนักเพื่อสร้างฐานะ จึงไม่มีเวลาอยู่กับลูกมากนัก ส่วนแม่เป็นแม่บ้าน [12]ที่ต้องดูแลทำงานบ้าน และเลี้ยงลูกดังนั้นสิ่งที่แม่บ้านยุคนี้ต้องการคลายความเครียดก็คือ การช็อปปิ้งตามห้างสรรพสินค้า การพูดคุยโทรศัพท์ ส่วนชินจังเองก็ต้องตื่นแต่เช้าเพื่อไปโรงเรียน มีการแข่งขันกับเพื่อน เล่น รวมทั้งชอบดูโทรทัศน์
การเสนอการ์ตูนของนักวาดนี้ มีความจงใจที่จะแสดงให้เห็นสภาพของครอบครัวในสังคมเมืองโดยใช้เด็กเป็นตัวนำเสนอหรือตัวเอกของเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นท่ามกลางความสับสนต่าง ๆ นานา และที่สำคัญพยายามให้เห็นถึงความมีเสรีภาพของสังคมสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นกับเด็ก สิ่งที่ใช้เป็นการอธิบายพฤติกรรมและบุคลิกของเด็กก็คือ ความซุกซน ความอยากรู้อยากเห็น ความฉลาด ความคิดในการฝันและจินตนาการ รวมทั้งความน่ารัก เป็นสื่อสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ภาพของการ์ตูนมีสีสันมากขึ้น ดังนั้นในการดำเนินเรื่องจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นปกติธรรมดาในชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วไป ไม่มีสิ่งวิเศษมหัศจรรย์มาเป็นเครื่องมือในการช่วยแก้ปัญหา แต่การแก้ปัญหาเกิดขึ้นโดยความคิดของมนุษย์ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ซึ่งก็คือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคม บางครั้งการกระทำเหล่านี้อาจทำให้ผู้คนรับไม่ได้ และถูกมองว่าเกินความเป็นจิรง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ของเรื่อง ผู้วาดเองพยายามนำแนวความคิดแบบฟรอยด์เดียนส์มาใช้ในการอธิบายพฤติกรรมและบุคลิกภาพของมนุษย์ทุกเพศทุกวัย และมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่เด็กในยุคโลกาภิวัฒน์มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น โดยผ่านบรรดาพ่อแม่เองก็ต้องใช้เหตุผลในการปกครองมากกว่าในอดีต และปฏิบัติต่อเขาเท่ากับเป็นมนุษย์ที่เท่าเที่ยมกันคนหนึ่ง ไม่ใช่คนในปกครองพ่อแม่ดังเช่นที่เคยเป็นมา ความสัมพันธ์จึงจะเป็นไปได้ด้วยดี [13]
การ์ตูนเรื่องนี้ เป็นเรื่องราวอันขบขันเกี่ยวกับพฤติกรรมการแสดงออกของเด็กอายุ 5 ขวบ ในยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งพยายามที่จะแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของตนเองอย่างตรงไปตรงมา

(3)

เมื่อเราอ่านหรือชมการ์ตูนเครยอนชินจัง เราจะเห็นภาพตัวแทนของเด็กในรูปของ ชินจัง ในลักษณะ ต่าง ๆ ไม่ว่าเป็นพฤติกรรม ความคิด การพูด การใช้ภาษา รวมทั้งสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ถูกนำเสนอขึ้นอย่างมีความหมาย โดยเฉพาะการพูดถึงเรื่องเซ็กส์หรือเพศของเด็กที่ไม่สามารถพูดคุยได้อย่างตรงไปตรงมา แต่ต้องใช้สัญญะแทนการสื่อความหมาย ซึ่งสังคมโดยทั่วไปมักจะลงโทษหรือประนามผู้ที่พูดหรือแสดงออกอย่างเปิดเผย
การนำเสนอเรื่อง “เซ็กส์” ในการ์ตูนชินจังนี้ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัยกับการแสดงความคิดเรื่อง “เซ็กส์” ในที่นี้มิได้หมายถึงหรือจำกัด “พฤติกรรมทางเซ็กส์หรือการร่วมรักระหว่างชายและหญิง (heterosexuality)” เพราะในความคิดของฟรอยด์ เซ็กส์มีความหมายที่กว้างกว่าการร่วมรักระหว่างชายและหญิง แต่ครอบคลุมไปถึงสัญชาตญาณและพฤติกรรมของเด็กทารก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ อีกทั้งความพึงพอใจทางเซ็กส์ก็มีหลายรูปแบบ ดังนั้นจุดมุ่งหมายทางเซ็กส์จึงหมายถึง พฤติกรรมหรือการกระทำที่มีลักษณะแตกต่างกันไป เช่น การสัมผัส กอดจูบ การอวด การมองดู จนกระทั่งการสมสู่ ซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมที่เป็นธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์และเป็นส่วนหนึ่งของเซ็กส์
บทความนี้เราต้องการวิเคราะห์ชินจังในฐานะภาพแทนของเด็กในวัย 3-5 ขวบ โดยการมองผ่านแว่นตาของฟรอยด์ ซึ่งถือว่าเป็นธรรมชาติของเด็กในช่วงวัยนี้ที่ต้องมีพัฒนาการของพฤติกรรมที่จะไปสู่การปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพของตนไปตามกาลเวลา ขณะที่เด็กวัยเดียวกับชินจังยังคงอยู่ในภาวะของความเป็นธรรมชาติที่กำลังจะถูกสังคมขัดเกลา สภาวะของชินจังก็เป็นธรรมชาติของการแสดงพฤติกรรมที่สร้างความสุขให้กับตนเอง โดยการให้ความสำคัญกับอวัยวะเพศของตน ขณะที่สังคมและวัฒนธรรมตีตราและประนามว่าเป็นสิ่งวิปริต (perversion) โดยเฉพาะพฤติกรรมของเด็กที่ชอบอวดอวัยวะเพศ การแอบมองหรือการชอบดูอวัยวะเพศของผู้อื่น โดยเฉพาะของแม่ เป็นสิ่งที่ผิด เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
ดังจะเห็นได้จากพฤติกรรมต่าง ๆ ของชินจัง ความพึงพอใจในการถ่ายปัสสาวะ ความฝัน ความอยากรู้อยากเห็นเรื่องเพศ อยากเห็นอวัยวะเพศของผู้อื่น (พ่อแม่ คุณครู หรือหญิงสาว เป็นต้น) การอวดและเล่นอวัยวะเพศของตน [14] รวมทั้งการเล่นและอวดทวารหนัก (ก้น) [15] ซึ่งชินจังหรือเด็กวัยนี้ในมุมมองของฟรอยด์คิดว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ตนมีความสุข และคิดว่าผู้อื่นก็จะสนุกสนานด้วย
ส่วนความสัมพันธ์ของชินจังกับพ่อและแม่ พบว่าความสัมพันธ์ของชินจังหรือเด็กในวัยนี้จะสนิทสนมกับแม่มากกว่าพ่อ ดังตอนที่เปิดเรื่องมีชื่อตอนว่า “แม่กะฉันเป็นเพื่อนกันนะ” มีทั้งสิ้น 46 ตอน เป็นตอนสั้น ๆ ที่ทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างแม่และชินจังในแง่มุมต่าง ๆ ที่สำคัญมีความใกล้ชิดและมีบทบาทต่อชินจังมากกว่าพ่อ เช่น การอาบน้ำด้วยกัน การนำกางเกงในและยกทรงมาเล่น หรือใส่แทนหมวก หรือการเรียกแม่ว่า “มิซาเอะ” เหมือนพ่อ ซึ่งหากพิจารณาปมเอดิปุสของชินจังจะเห็นว่า แม่เป็นเป้าหมายแห่งความรัก ความผูกพัน และความใกล้ชิด ทั้งนี้เนื่องจากความผูกพัน การเลี้ยงดูครั้งแรกในชีวิตของชินจังที่อยู่กับแม่มากกว่าพ่อ เด็กในวัยนี้จะเห็นว่าแม่ยังเป็นศูนย์กลางแห่งโลกของตน รู้จักเชื่อฟัง อยากให้แม่รักตนเพียงคนเดียว จึงต้องประจบ ประแจง และชอบเล่าให้แม่ฟังว่าตนไปทำอะไรมาบ้าง ความสัมพันธภาพกับพ่อก็ราบรื่น ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายมองเห็นว่าพ่อในฐานะคนสำคัญ ชอบไปเที่ยวกับพ่อ ถ้าพ่อทำโทษได้ผลกว่าแม่ทำ แสดงความรักเคารพบูชาพ่อ ซึ่งฟรอยด์เองก็ได้อธิบายไว้ว่า เด็ก ๆ ไม่ว่าชายหรือหญิงจะมีลักษณะความเป็น 2 เพศอยู่ในคนเดียวกัน ดังนั้นพฤติกรรมของชินจังมีลักษณะความเป็นชายที่ก่อให้เกิดความผูกพันต่อแม่ และความเป็นหญิงที่ผูกพันต่อพ่อเช่นเดียวกัน ซึ่งปมเอดิปุสของชินจังที่แสดงต่อแม่คือการแสดงการเป็นเจ้าของแม่ [16] และพยายามเลียนแบบพฤติกรรมบางอย่างจากพ่อ เช่น การพูด การเรียกแม่ การออกคำสั่ง ซึ่งเป็นพฤติกรรมของพ่อที่ชินจังนำมาแสดงกับแม่ของตน อีกทั้งความพยายามแสดงตนเป็นวีรบุรุษที่สามารถปกป้องแม่และคนที่อ่อนแอได้ (แม้ว่าจะแสดงไม่ดีและทำให้เกิดความวุ่นวาย แต่ก็อยากจะทำ) จากพฤติกรรมต่าง ๆ ที่แสดงออกมานั้น เจ้าตัวเองไม่รู้ตัวหรือรู้สึกผิด อาจกล่าวได้ว่าเป็นธรรมชาติของเด็กในช่วงนี้ เพราะสิ่งที่แสดงออกมานั้นเกิดจากสิ่งที่ฟรอยด์เรียกว่า “จิตไร้สำนึก” (unconscious mind) โดยที่พฤติกรรมหรือการแสดงให้บุคคลอื่นประจักษ์นั้นออกมาในรูปของสัญลักษณ์ และเป็นการแสวงหาความสุขความพึงพอใจให้แก่ตนเองเสมอ และด้วยความเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่พยายามตักตวงความสุขความพึงพอใจทางสัญชาตญาณให้มากที่สุด จึงเป็นเหตุของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจาก “จิตไร้สำนึก” ถือว่าเป็นกระบวนการทางจิตใจของเด็กที่เกิดขึ้นโดยที่ “ไม่รู้ตัว” นอกจากนี้ยังรวมไปถึง “ความฝัน” (dreams) ที่ต้องมีการแปลความฝัน (Interpretation of Dreams) เป็นกุญแจสำคัญที่ไขความลับอันยิ่งใหญ่ของจิตไร้สำนึกที่แฝงเร้นอยู่ในตัวของคน เป็นความหมายที่สะท้อนให้เห็นประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น ความฝันของชินจังที่มักจะก่อให้เกิดการปัสสาวะรดที่นอน หรือความฝันของฮิโรชิ (พ่อของชินจัง) มักจะฝันถึงผู้หญิงสวย ๆ (ไม่ใช่แม่ของชินจัง) แต่ความฝันก็กลายเป็นฝันร้าย (nightmares) (ฝันร้ายของเขาเกิดจากการก่อกวนของชินจัง ทำให้ต้องตื่นทันที)
ขณะเดียวกันพฤติกรรมของชินจังบางอย่างที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการนึกรู้หรือจำได้ แต่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อถูกกระตุ้น หรือการสะสมประสบการณ์ที่เลือนลาง สภาวะเหล่านี้เกิดขึ้นระหว่างจิตไร้สำนึกกับจิตสำนึกที่ ฟรอยด์เรียกว่า “จิตใกล้สำนึก” (preconscioun/subconscious mind) เช่น การนำจานไว้บริเวณสนามหน้าบ้านขณะที่หิมะตกเพื่อทำน้ำแข็งใส การปั้นตุ๊กตาหิมะ และพ่อให้ไปหาอุปกรณ์ทำตาและจมูกตุ๊กตาหิมะ สิ่งที่ชินจังหามาได้คือ “เต้าหู้ สมุดธนาคาร และถุงยางอนามัย” หรืออาการปวดท้องอุจจาระทุกเช้าก่อนไปโรงเรียน ซึ่งจะเป็นทุกครั้งที่ได้ยินเสียงแตรรถโรงเรียนหน้าบ้าน ทำให้ไม่สามารถไปพร้อมเพื่อน ๆ ได้ ซึ่งอาการนี้มักจะเกิดจากอาการเครียดและเกร็งของเด็กเมื่อถูกระตุ้นอย่างไม่รู้ตัว ก็จะเกิดพฤติกรรมที่ต่อต้าน สิ่งนี้ก็คือ “จิตใกล้สำนึก” ของชินจัง หรือเด็ก
ส่วนพฤติกรรมที่ชินจังหรือเด็กแสดงออกอย่างเจตนา มีจุดมุ่งหมายและรู้ตัวตลอดเวลา หรือที่เรียกว่า “จิตสำนึก” (conscious mind) ได้แก่ การแสดงความเป็นเด็กผู้ชาย (เด็กผู้หญิง) การเล่นแบบเด็กผู้ชาย (ผู้หญิง) ความเป็นเด็กนักเรียน การเป็นลูก รวมทั้งความเป็นเพื่อน ซึ่งเราจะเห็นภาพของชินจังได้อย่างชัดเจนโดยไม่ต้องผ่านการตีความสัญญลักษณ์ต่าง ๆ ทั้งนี้เราถือว่าพฤติกรรมระดับนี้ได้ถูกกลั่นกรองความต้องการหรือสัญชาตญาณระดับหนึ่งแล้ว หรืออาจกล่าวได้ว่า ได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่สังคมได้พยายามทำความเข้าใจและอบรมสั่งสอน (Socialization)
การอบรมสั่งสอนหรือการขัดเกลาพฤติกรรมโดยสังคม (Socialization) เป็นความพยายามที่จะทำให้เด็กได้สำนึกถึงเรื่องของศีลธรรม (morality) ความถูกต้องที่สังคมกำหนดจนกลายเป็นบรรทัดฐานของสังคม (norm) ตามทัศนะของฟรอยด์ เด็กในวัยนี้ (3-5 ขวบ) หรือชินจัง เป็นระยะที่เด็กเริ่มเรียนรู้และได้รับการอบรมให้รู้จักบทบาทของตนเอง ถูกสอนให้ประพฤติตนเป็น “เด็กชาย” หรือ “เด็กหญิง” ที่ดีตามที่วัฒนธรรมได้กำหนดเอาไว้ ดังนั้นกระบวนการเรียนรู้ของเด็กในช่วงนี้แบ่งได้ 2 ส่วนคือ
(1) เด็กเริ่มเรียนรู้ความแตกต่างระหว่างชายและหญิง
(2) เด็กเริ่มเรียนรู้พฤติกรรมที่ถูกตีความโดยสังคม (พ่อแม่) ว่า “ดี” หรือ “เลว” แบบอย่างที่เด็กเรียนรู้ในเรื่องนี้คือ ตัวอย่างที่เด็กได้เห็นจากพฤติกรรมของพ่อแม่ของตน
ในการพัฒนาการทางศีลธรรม นั่นก็คือการที่เราเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นได้อย่างหมดจดงดงาม เด็กในวัยก่อนเข้าโรงเรียนจะได้รับการอบรมและจากประสบการณ์ของตัวเด็กเองจะเป็นผู้สอนว่า ประพฤติเช่นไรที่บุคคลอื่นจะยอมรับหรือไม่ยอมรับ ตนแสดงพฤติกรรมแบบใดบ้างจึงจะถูกลงโทษ ดังนั้นความประพฤติที่ดำเนินตามหลักจริยธรรมจะมีความหมายมากไปกว่าการประพฤติตนให้เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ เด็กหรือพฤติกรรมอย่างชินจังจึงมีลักษณะการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (Ego centricity) เกิดพฤติกรรมที่แสดงถึงการรับรู้ทางสังคม (Social awareness) เช่น ความเห็นอกเห็นใจ การมีสติ (สามารถควบคุมสถานการณ์บางอย่างและแก้ปัญหาได้) ความโอบอ้อมอารี การมีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อน ฯลฯ
แต่สิ่งที่ศีลธรรม (Morality) เลี่ยงไม่ได้ก็คือ การมีผลกระทบต่อผู้คนในสังคม โดยเฉพาะเรื่องเซ็กส์ ศีลธรรมจะเป็นตัวสอนให้มนุษย์เก็บกดสัญชาตญาณทางเซ็กส์เอาไว้ และมองว่าเซ็กส์มีหน้าที่เพียงเพื่อการแพร่ขยายเผ่าพันธุ์เท่านั้น นอกจากนี้ศีลธรรมยังได้เก็บกดเซ็กส์ให้อยู่ในวงจำกัดในหญิงชายที่เป็นคู่สมรสเท่านั้น [17] อีกทั้งคนเรามีซูเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นตัวควบคุมความคิดและการกระทำของมนุษย์แยกแยะดีชั่ว ถูกผิด ยึดมั่นในความเชื่อและกฎศีลธรรม ความรู้สึกผิดเป็นความกังวลที่เกิดจากความหวาดกลัว หรือการตักเตือนของซูเปอร์ฮีโก้ ความรู้สึกผิดเกิดขึ้นจากความปรารถนาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแต่ก่อนที่เราจะทำสิ่งนั้น เราถูกมโนธรรมห้ามไม่ให้กระทำ ความรู้สึกผิดอาจเกิดขึ้นหลังจากที่ได้กระทำสิ่งนั้นไปแล้ว และถูกซูเปอร์อีโก้ตำหนิ ความรู้สึกผิดหรือความวิตกกังวลนี้เป็นผลมาจากการที่บุคคลลงโทษตนเอง ใช้ความรุนแรงต่อตนเอง ใครก็ตามที่ใช้ความรุนแรงโดยไม่ถูกตำหนิซูเปอร์อีโก้จะไม่รู้สึกผิด แต่เขาก็ย่อมมิใช่มนุษย์ตามมาตรฐานของสังคมทั่วไป
ดังจะเห็นได้จากความรู้สึกผิดของชินจังในเรื่องการปัสสาวะใส่ที่นอน แต่ไม่รู้สึกผิดที่จะนำที่นอนเปื้อนปัสสาวะไปแอบ หรือโกหกว่าน้ำหกใส่ หรือพฤติกรรมการจับ ลูบคลำ หรืออวดอวัยวะเพศของตนเป็นไปอย่างธรรมชาติ และเป็นความพึงพอใจทางเซ็กส์ (Sexual pleasure) ที่เปรียบได้กับการสำเร็จความใคร่ (Masturbation) ซึ่งผู้ใหญ่ (พ่อ แม่ คุณครูของชินจัง ฯลฯ) รวมทั้งผู้ใหญ่ในสังคมมักเห็นว่าเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรม ขณะที่ชินจังหรือเด็กทำไปตามความต้องการของธรรมชาติ ผู้ใหญ่จึงพยายามควบคุมและอบรมว่าการกระทำเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผิด ต้องมีการถูกลงโทษ ดังนั้นเมื่อเด็กถูกพ่อแม่สั่งไม่ให้ลูบคลำ เล่น หรืออวดอวัยวะเพศ เด็กมักทำตามคำพูดของพ่อแม่ในขณะที่ความปรารถนานั้นยังคงอยู่ และในเวลาต่อมาเด็กก็จะได้เริ่มเรียนรู้ที่จะพัฒนาความรู้สึกชิงชัง รังเกียจต่อ “ความคิด” ที่จะลูบคลำ เล่น หรืออวดอวัยวะเพศ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม (Taboo)
ภาพที่ถูกเสนอในการ์ตูนเครยอนนี้ ชินจังก็คือผู้ที่ละเมิดข้อห้าม (Taboo) ที่ถูกสังคมตีตราและไม่คบหาสมาคมด้วย สมาชิกในสังคมจะรู้สึกกระอักกระอวนใจต่อผู้ที่ละเมิดข้อห้ามหรือกฎระเบียบของสังคมซึ่ง ฟรอยด์เองมองว่า การที่พ่อแม่ ครอบครัว และสังคมสอนให้มนุษย์เก็บกดอารมณ์ตั้งแต่แรกเกิด สิ่งนี้จะทำให้ศักยภาพแห่งการพัฒนาสติปัญญาหยุดชะงักและเสียหาย เพราะมนุษย์ได้รับการเรียนรู้ ตั้งแต่เด็กให้ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล และสิ่งนี้ติดตัวเขาไปจนเติบใหญ่
ชินจังจึงถูกกล่าวว่าเป็นเด็กที่มีความฉลาด มีอิสระและเสรีภาพในการคิดจินตนาการ และกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ไปตามพัฒนาการของเด็ก และนี่เองที่ชินจังจึงเป็นเสมือนภาพของเสรีภาพของเด็กในการคิดจินตนาการอย่างไร้กรอบหรือขอบเขตที่ถูกกำหนดโดยสังคม อีกทั้งสะท้อนถึงความพยายาม “แปลง” สัญชาตญาณทางเซ็กส์ไปเป็นกิจกรรมแบบอื่น เพื่อให้สังคมยอมรับและมีคุณประโยชน์ต่อสังคม
แม้ว่าทุกตอนของการ์ตูนเรื่องนี้จะแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของชินจังในการแสดงพฤติกรรมทางเพศออกมาอย่างชัดเจน ทั้งการแสดงอย่างเปิดเผย การโชว์อวัยวะเพศ [18] การโชว์ทวารหนัก [19] การใช้ภาษา หรือคำพูดที่ล่อแหลม และส่อในทางเพศ การดูและวิพากษ์วิจารณ์ อวัยวะเพศของบุคคลอื่น ทั้งที่เป็นคนเพศเดียวกันและคนต่างเพศอย่างจงใจ มากกว่าการเกิดขึ้นโดยบังเอิญ และการแสดงพฤติกรรมอย่างไม่เปิดเผย เป็นเพียงความนึกคิดภายในและแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์มากกว่าจะสื่อความหมายอย่างตรงไปตรงมา เช่น ความฝัน จึงทำให้เราเห็นว่าการพัฒนาการของเด็กในช่วงนี้เป็นช่วงที่ฟรอยด์เห็นว่า เป็นช่วงหนึ่งที่ ทำให้เกิดการพัฒนาบุคลิกภาพเมื่อเติบใหญ่ ทั้งนี้ฟรอยด์เห็นว่า ถ้าเด็กในช่วงนี้ถูกควบคุมอย่างสูง ไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่ตนปรารถนาได้ จึงทำให้เกิดการเก็บกด อาจนำไปสู่ปัญหาการพัฒนาทางจิตในอนาคต ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็เกิดจากการควบคุมของสังคมนั่นเอง ดังนั้นการที่ผู้วาดใช้ชินจัง ตัวการ์ตูนเป็นสื่อที่พยายามจะบอกว่า สังคมที่ได้วางกรอบของศีลธรรมไว้ ควรจะเข้าใจพฤติกรรมของเด็กในช่วงนี้ที่ต้องการมีพัฒนาการอย่างมีอิสระเสรี และมีจินตนาการที่พร้อมจะสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ในโลกของเขาและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่แวดล้อมตัวเขา







หนังสืออ้างอิง

กวี บ้านไท และ สุชาติ สวัสดิ์ศรี. “วัฒนธรรม “การ์ตูน” ในญี่ปุ่น.” โลกหนังสือ 6,7 (เมษายน
2526) : 18-33.
กวี บ้านไท และ สุชาติ สวัสดิ์ศรี. “สัมภาษณ์ ฟูชิโกะ ฟูชิโอะ.” โลกหนังสือ 6,7 (เมษายน 2526) :
34-38.
ก้อนกรวด บนดินแดง. “ศึกษาทางวัฒนธรรมการ์ตูนไทยหายไปไหน.” โลกหนังสือ 6,7 (เมษายน
2526) : 45-51.
“ครึ่งศตวรรษของศิลปะและข้อมูลในแนวมังกะ.” ญี่ปุ่น ภาพข่าวปัจจุบัน 18,1 (2538) : 18-22.
ทัศนา สลัดยะนันท์. “โดราเอมอน เหตุใดแมวญี่ปุ่นจึงครองใจเด็กไทย.” โลกหนังสือ 6,7
(เมษายน 2526): 39-44.
นวลละออ สุภาผล. ทฤษฎีบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร,
2527.
ปราโมทย์ เชาวศิลป์. คู่มือทฤษฎีจิตวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : สหประชาพาณิชย์, 2526.
ยศ สันตสมบัติ. ฟรอยด์และพัฒนาการของจิตวิเคราะห์ จากฝันสู่ทฤษฎีสังคม. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2532.
อรทัย ศรีสันติสุข. “การ์ตูนญี่ปุ่นกับเด็กไทย.” นิตยสารตะวัน (พฤษภาคม-กรกฎาคม 2527) :
15-25.

Brenkmen,J. Straight Male Modern. New York: Routledge, 1993.
Kinko, Ito. “Images of Women in Weekly Male Comic Magazines in Japan.”
Journal of Popular Culture 274 (1994): 81-95.
Natsume, Fusanosuke. “Look Back in Manga.” Look Japan 42,491 (February 1997):
20-21.
Yoshito, Usui. เครยอนชินจัง Vol. 1-12. แปลโดย สุนีย์ ตั้งตน. กรุงเทพฯ: เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป,
2540.
[1] บทความได้รับการตีพิมพ์ในจุลสารญี่ปุ่นศึกษา ฉบับที่ 2

[2] อาจารย์สำนักวิชาศิลปศาสตร์
[3] สำหรับการ์ตูนในประเทศญี่ปุ่น จัดได้ว่าเป็นธุรกิจที่สำคัญและเป็นวัฒนธรรมนำออก (Cultural Exports) ของประเทศด้วย การ์ตูนญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า “มังกะ” (manga) เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของวัฒนธรรมญี่ปุ่น เพราะไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน เวลาใดก็มักจะเห็นผู้คนทั้งเด็ก-ผู้ใหญ่ หรือ หญิง-ชาย จะอ่านการ์ตูน ทั้งนี้เพราะการ์ตูนญี่ปุ่นถูกตีพิมพ์ออกมามากมายและหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งภาพการ์ตูนก็มักจะปรากฎอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์โทรทัศน์ เกมส์ หรือแม้แต่บนบัตร ATM ของธนาคาร จนกลายเป็นอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม และญี่ปุ่นก็ถูกขนานนามว่าเป็น “The world capital for manga” การ์ตูนญี่ปุ่น (Japanese manga) มีความแตกต่างจากการ์ตูนตะวันตก ทั้งนี้เนื่องจากการ์ตูนญี่ปุ่นมีการตีพิมพ์เป็นนิตยสารที่มีความคุณภาพต่ำ (pulp magazines) ราคาถูก (ใช้กระดาษคุณภาพต่ำ และใช้สีเพียงสีเดียว (ขาว-ดำ)) และที่สำคัญนักเขียนและนักวาดการ์ตูนญี่ปุ่นมีจำนวนมาก ทำให้มีการนำเสนอแนวเรื่อง (Theme) ใหม่ ๆ ตัวละครแปลก ๆ (ทั้งมาจากในอดีต ปัจจุบัน หรือจินตนาการในอนาคต) การอ่านการ์ตูนของคนญี่ปุ่นกลายเป็นวัฒนธรรมการอ่านที่นับวันก็ยิ่งจะเพิ่มจำนวนสูงขึ้น ในปี 2539 พบว่ามีจำนวนพิมพ์ถึง 2,250 ล้านเล่ม ยอดพิมพ์ในปี 2536 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 จากปี 2535 ในปี 2538 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10 อาจกล่าวได้ว่า หนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น (มังกะ) (Manga) หนังสือที่มีลักษณะพิเศษเป็นเอกลักษณ์โดยให้ความเย้ายวนใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่

[4] การ์ตูนบูดเบี้ยว (Gag Manga) มีลักษณะบูดเบี้ยวเกินจริง ดูแล้วตลก
[5] Sigmund Freud อธิบายการพัฒนาแรงผลักดันของจิตใจที่เกี่ยวกับเพศ ในหนังสือ เรื่อง “Three Essays on Sexuality” (1915) แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน คือ ระยะแรก ขั้นความสุขทางปาก (Oral Stage) ระยะที่สอง ขั้นความสุขทางอวัยวะขับถ่าย หรือทวารหนัก (Anal Stage) ระยะที่สาม ขั้นความสุขทางอวัยวะเพศ (Phallic Stage) ระยะที่สี่ขั้นก่อนวัยรุ่น (Latency Stage) และระยะสุดท้ายขั้นความสุขจากการมีเพศสัมพันธ์ (Genital Stage)
[6] ช่วงพัฒนาการของขั้นแสวงหาความสุขของอวัยวะเพศปฐมภูมิ (Phallic Stage) มีความอยากรู้อยากเห็นเรื่องเพศ พร้อม ๆ กับมีความรู้สึกอยากเห็นอวัยวะเพศของผู้อื่น และอยากโชว์อวัยวะเพศของตนด้วย หรือเรียกว่า “ปมเอดิปุส” (Oedipus Complex) ที่มีความรู้สึกต่อพ่อแม่
[7] ข้อมูลจาก http://www.tcp.com/~jly/crayon

[8] http://www.Ran.net.org/shinchan/index.html
[9] เล่มที่ 1 ถึง 3 ครั้ง (8 เมษายน 2539, 4 ตุลาคม 2539 และ 1 พฤศจิกายน 2539) หรือ เล่มที่ 9 พิมพ์ 2 ครั้ง (24 มกราคม 2540, 10 พฤษภาคม 2540) ทั้งในรูปฉบับปกติ (เล่มเล็กพ็อกเก็ตบุ๊ค ขาว-ดำ) ในราคา 30-35 บาท เล่มเล็ก (พ็อกเก็ตบุ๊คสี) ราคา 40 บาท ไปจนถึงเล่มใหญ่สี หรือเรียกว่า ฉบับพิเศษ ราคา 70 บาท
[10] ชินจัง (Shin-Chin) หรือชิโนสุเกะ โนฮาร่า อยู่กับพ่อแม่และน้องสาวจัดเป็นครอบครัวเดี่ยวในสังคมเมือง เรียนหนังสือที่โรงเรียนบูม รูปร่างเล็ก คิ้วหนา ผมเกรียน ซุกซน ช่างซักถาม ชอบผู้หญิงสาวสวย ชอบโชว์และจับอวัยวะเพศของตนเอง ชอบดูอวัยวะเพศของผู้อื่น ชอบเลียนคำพูดของพ่อ ชอบเล่นมนุษย์หุ่นยนต์ (Action Kamen) เป็นวีรบุรุษที่ชินจังอยากเป็น เป็นเด็กตื่นสายและไปโรงเรียนสายเสมอ เพราะเวลารถโรงเรียนมารับมักจะปวดท้องอุจจาระ แต่มีข้อดี คือ มีน้ำใจกับเพื่อน ๆ
[11] พ่อของชินจัง ชื่อ ฮิโรชิ โนฮาร่า เป็นผู้จัดการบริษัทเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ทำให้มีเวลาให้กับลูกค่อนข้างน้อย ชอบทีมเบสบอลไจแอนน์ ชอบสาวสวย ๆ นิสัยค่อนข้างเจ้าชู้ และมักจะเก็บมาฝัน และความฝันมักจะพังทลายทุกครั้งเมื่อชินจังเข้ามาก่อกวนขณะนอน ดังนั้นสิ่งที่หวาดผวาคือ ลูกชายตนเอง
[12] แม่ของชินจัง ชื่อ มิซาเอะ โนฮาร่า อายุ 29 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมปลาย แต่ก็ต้องการให้ลูกของตนได้รับการศึกษาที่สูง ๆ มีตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดีในอนาคต เป็นผู้หญิงที่ชอบนอนกลางวัน มีนิสัยประหยัด (ค่อนข้างขี้เหนียวมากกว่า โดยเฉพาะกับสามีและลูก) ขี้โมโห โดยเฉพาะเวลาโมโหชินจัง มักจะทุบหัวจนหัวโนปูด แต่ก็สนิทกับชินจังมาก ชอบทีมเบสบอลไทเกอร์ ชอบใส่ชุดชั้นในบาง ๆ เซ็กส์ซี่ (แต่ชินจังมักจะว่าแม่ของตนเสมอว่าหน้าอกเล็ก ซึ่งเธอไม่ชอบเพราะเป็นปมด้อย) ชอบกินมันเผา สิ่งที่เกลียดคือ แมลงสาบ (โดยเฉพาะเวลามันบิน)
[13] เครยอน ชินจัง เล่ม 1, 2539
[14] การเปรียบองคชาตของตนเป็น “ช้างน้อย” ของผู้ใหญ่เป็น “ช้างแมมมอธ”
[15] เปรียบเหมือนกับ “จานบินของมนุษย์ต่างดาว” หรือถ้าใช้ดอกไม้ไฟเสียบที่ก้นก็จะกลายเป็น “หิ่งห้อย”
[16] พฤติกรรมที่มีต่อแม่นี้ หรือการพูดถึงปมเอดิปุส มิได้เกิดขึ้นกับชินจังเท่านั้น แม้แต่คาซามะคุง เพื่อนของชินจังก็มีความรู้สึกต่อแม่อยากดูดนมแม่ ทำให้นอนฝันและละเมอดูดแก้มของชินจัง ซึ่งโดยปกติคาซามะคุงจะเก็บความรู้สึกไม่แสดงพฤติกรรมเหมือน ชินจังอย่างเปิดเผย
[17] จากการนำเสนอชีวิตส่วนหนึ่งของนางโนฮาระ มิซาเอะ (แม่ของชินจัง) เป็นผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาน้อยกว่าพ่อของชินจัง ต้องแบกรับภาระในการดูแลครอบครัว (งานบ้านและลูก) ในแง่มุมของฟรอยด์มองว่า เป็นการเก็บกดความต้องการของตนเองไว้ และต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม เพราะผู้หญิงมีช่องทางที่จะแปลงความปรารถนาทางเซ็กส์ไปเป็นกิจกรรมประเภทอื่น ๆ ได้น้อยกว่าผู้ชาย ผู้หญิงมีโอกาสที่จะได้ออกนอกบ้านกว่าและมีทางเลือกน้อยกว่าผู้ชาย ซึ่งหากมองจากมาตรฐานของสังคมแล้ว ผู้ชายเป็นผู้ที่ประพฤติตนไร้ศีลธรรม ขณะที่ผู้หญิงยึดมั่นในจารีตประเพณีและความประพฤติดีงาม แต่เป็นนิวโรติกส์ นั่นคือ การยึดติดกับกรอบประเพณีและศีลธรรมมากเกินไป ขณะเดียวกันเป็นผู้มีสัญชาตญาณทางเซ็กส์ที่รุนแรง ไม่สามารถแปลงเป็นกิจกรรมอื่นได้ ดังจะเห็นได้จากพฤติกรรมของมิซาเอะ เช่น การโมโหและตีหัวชินจังจนโนเป็นลูกหินบนหัว (คล้ายอวัยวะเพศชาย) การตีก้นลูกจนเป็นรอยมือ การใส่ชุดชั้นในบางและเล็ก การแก้ผ้าอาบน้ำกับลูก (ชินจัง) การชอบใส่ชุดว่ายน้ำตัวจิ๋ว และปลดตะขอชั้นในนอนอาบแดดชายทะเล เป็นต้น ส่วนฮิโรชิ (พ่อของชินจัง) มักแสดงพฤติกรรมที่ไร้ศีลธรรมหรือผิดกรอบประเพณี เช่น การนอนฝันถึงผู้หญิงสวย การนอกใจภรรยาของตนเองโดยการชื่นชม หรือมองหญิงสาวคนอื่น รวมทั้งการเข้าไปคุยกับหญิงสาวที่ใส่ชุดว่ายน้ำ (เมื่อไปเที่ยวทะเล) เป็นต้น

[18] การวาดรูปช้าง มีงวงยาว ๆ หรือการเลียนแบบอวัยวะเพศหญิง (เอาไอ้ตรงนั้นอันน้อย ๆ หลบในขาหนีบ) หรือการนำออกมาโชว์ในที่สาธารณะ (เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน ชายหาด และทุก ๆ ที่ ทุก ๆ สถานการณ์ รวมทั้งทุก ๆ เวลา)

[19] การทำโคมไฟมาเสียบที่ก้น เป็นตัวหิ่งห้อย, การโก้งโค้งก้น และบอกเพื่อน ๆ ว่า นี่คือจานบินอวกาศ หรือเมื่อไปร้านขายไฟฟ้าที่มีการทดลองถ่ายกล้องวีดีโอ ชินจังก็ได้โชว์ทวารหนัก โดยให้พ่อเป็นผู้ถ่าย เป็นต้น