ตลาดสดบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ : บริโภค (เซ็กส์) สด ๆ เรื่องส่วนตัวหรือเรื่องสาธารณะกันแน่ ? [1]
(1)
ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเป็นช่วงที่เราได้รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศของหญิงชาย วัยรุ่นค่อนข้างมาก จนคิดอยู่เหมือนกันว่า เมื่อเราเจอใคร ๆ หรือแม้แต่นักศึกษา อาจารย์ในสำนัก ฯ จะต้องเล่าให้ฟัง ทำให้หลายคนไม่เข้าใจอาจจะคิดว่า “อาจารย์คนนี้เซ็กส์ขึ้นสมองหรือเปล่า ?” หรือ “อาจารย์คนนี้ไม่เข้าใจชีวิตวัยรุ่นเลย หัวเก่าจัง...” “อาจารย์เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว ...ไม่เห็นตื่นเต้นเลย” ทำให้เราเองก็ต้องกลับมานั่งคิดเหมือนกัน กับการตัดสินใจเขียนเรื่องนี้ดีหรือไม่ ? เพราะมันน่าเบื่อ หรือมันล่อแหลมต่อศีลธรรม หรือปล่อยมันไปแล้วแต่ใครจะคิด สังคมไม่ใช่ของเราคนเดียวไม่ต้องเอาธุระกับมันก็ได้ หรือว่าก็เราไม่มีลูก...สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็เกิดกับลูกหลานคนอื่น ไม่ใช่ลูกเรานี่หว่า.......
เรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่งในฐานะที่เรามาอยู่หัวเมืองทางปักษ์ใต้หลายเดือน ทำให้เมื่อเข้าไปในเมืองใหญ่ก็ทำให้ตามเหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่ค่อยจะทัน จะติดตามได้ก็เฉพาะในโทรทัศน์เท่านั้น ไม่ตื่นเต้นพอ...
ขณะนั่งบนรถ....เมื่อรถเหลียวเข้าถนนเพชรบุรีตัดใหม่....สงสัยว่า “เออะทำไมรถติดจัง ? น่าจะเป็นต้นเดือนด้วยมั้ง” เราเห็นหญิงสาววัยรุ่นหน้าตาน่ารักมาก แต่งตัวน่ารักน่าชัง บางคนหวาน บางคนเปรี้ยว บางคนดูดีสะอาด ใสซื่อบริสุทธิ์ ฯลฯ ... แล้วเราก็ได้ยินเสียงตอบมาว่า “พี่ไปเที่ยวกับหนูไม๊?” “พี่ราคากันเอง” ...ตลอดทางที่นั่งบนรถ แต่ก็ถึงบางอ้อเมื่อนึกถึงรายการถอดรหัส ทาง ITV และรายการหลุมดำ ช่อง 9 ที่เคยนำประเด็นบริเวณถนนเพชรบุรี ฯ มากล่าวถึง และเมื่อตัวเองนั่งรถผ่านก็คิดว่าน่านำมาเป็นประเด็นในการพูดคุยที่ต้องอาศัยข้อคิดหรือการตั้งคำถามที่ต้องการหาคำตอบจากผู้คนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะอาจารย์ นักศึกษาช่วยกันมอง ช่วยกันตั้งคำถาม และช่วยกันหาคำตอบทีว่าต่อไปเราจะต้องทำอะไรกันต่อไป.....เราจะต้องเตรียมพร้อมกับปรากฏการณ์นี้หรือไม่ ? อย่างไร ?
(2)
หากกล่าวถึง สภาวะความเป็นมนุษย์และส่วนสาธารณะ Hannah Arendt นักปรัชญาร่วมสมัยคนสำคัญในศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา ได้เสนอว่า มนุษย์มีพื้นฐานด้านกิจกรรมของอยู่ 3 ลักษณะ คือ งาน(work), การงาน(working) และการกระทำ(action) ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เกี่ยวพันกันเป็นเงื่อนไขต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ Arendt เรียกกิจกรรมทั้งสามนี้ว่า “Vita Activa”[2] สภาวะความเป็นมนุษย์นี้มิใช่จำเป็นต้องมาจากเงื่อนไขทั้ง 3 เพียงด้านหนึ่งด้านใด Arendt ได้ขยายความไว้ว่า [3]
“ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้เข้าไปมีส่วนรวมนั่นมันก็ได้กลับมาเป็นเงื่อนไขต่อการดำรงอยู่ของเขาทันทีเช่นเดียวกัน…สภาวะวิสัยของโลก – วัตถุหรือลักษณะของสิ่งของ – และสภาวะความเป็นมนุษย์นั้นได้เอื้อซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพราะการดำรงอยู่ของมนุษย์เป็นสภาวะที่ถูกสร้างเป็นเงื่อนไขขึ้น และมันก็ไม่สามารถเป็นไปได้หากปราศจากสรรพสิ่งทั้งหลาย(things) พร้อมๆกันนั้นสรรพสิ่งทั้งหลายก็จะกลายเป็นกองปฏิกูลที่เหมือนไม่ได้เป็นโลก(a non-world) หากว่ามันไม่ได้เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสภาวะของการดำรงอยู่ของมนุษย์” (p.9)
ในเงื่อนไขของความเป็นมนุษย์นี้ไม่สามารถที่จะอธิบายจากคำถามที่ว่า “ เราคืออะไร”( What are we?) หรือ “เราคือใคร ?” ( Who are we ?) ด้วยเหตุผลง่ายๆ ก็คือ ไม่มีเงื่อนไขอันสมบูรณ์ของสภาวะของความเป็นมนุษย์ที่จะใช้อธิบายว่า ‘เราเป็นอะไร’ หรือ ‘เราคืออะไร’ ได้อย่างแน่นอน [4] หรือเราอาจจะสรุปง่ายๆก็คือไม่มีธรรมชาติที่แท้จริงของความเป็นมนุษย์นั่นเอง กิจกรรมทั้ง 3 ที่ Arendt ได้กล่าวไว้ตั้งแต่ต้นจึงเป็นส่วนที่เกี่ยวโยงกันและก็ต่างเป็น subject (world of men )และ object (man made things)ของสภาวะความเป็นมนุษย์
เมื่อกิจกรรมทั้ง 3 ถูกอธิบายบนบริบทของ “เขตส่วนตัว”(the private ream)และ “เขตสาธารณะ”(the public ream) โดยเฉพาะบริบทหลังนี้เป็นส่วนสำคัญที่ Arendt ใช้อธิบายถึง สังคมสมัยใหม่ที่มีขอบเขตสาธารณะคือ ส่วนที่เป็นสังคม(society) ซึ่งในสังคมดั้งเดิมนั้นไม่มีส่วนนี้อยู่ Arendt เห็นว่า สิ่งหนึ่งของความสำคัญของสังคมสมัยใหม่คือการ แบ่งแยกของ “ขอบเขตส่วนตัว”และ “ขอบเขตสาธารณะ” โดยความหมายของ “สาธารณะ”(public)นั้น เห็นว่ามี 2 ลักษณะแม้ว่าจะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันแต่ก็ไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ที่ต้องร่วมอยู่ด้วยกันเสมอไป
ความหมายแรก “สาธารณะ” (the public) หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ “ปรากฏ”(appearance)ให้เห็นหรือได้ยินโดยทุกๆคนในสังคม และสามารถกระจายไปในวงกว้างได้มากที่สุด โดยที่ทุกคนในสังคมสามารถรู้เรื่องราวและประสบการณ์ของคนอื่นได้ดีพอๆกับที่คนอื่นก็สามารถรู้เรื่องราวของเรา ในอดีตก่อนสังคมสมัยใหม่การที่จะรู้จักกันได้จะเกิดในขอบเขตส่วนตัว และเราก็มักทึกทักว่าสิ่งที่เรารู้หรือแลกเปลี่ยนกันในปริมณฑลนี้ คือ ลักษณะของความจริง(a kind of reality) แต่ใน “สาธารณะ”นั่นจะกลับกัน เพราะแม้ความเป็นส่วนตัวและความเป็นปัจเจกจะลดลง แต่ความสามารถของการสื่อสารระหว่างบุคคลมีมากขึ้น และก็เปิดโอกาสต่อการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายมากขึ้น[5] ปรากฏการณ์เหล่านี้คือลักษณะของ “public appearance” ที่ Arendt เห็นว่าเป็นสิ่งที่ควรเป็นอย่างทั่วไป(common)ในสังคมสมัยใหม่ [6]
ส่วนความหมายที่ 2 “สาธารณะ” (the public) หมายถึง โลก(world) โดยที่โลกนี้ไม่ได้หมายถึงโลกมนุษย์(earth)หรือธรรมชาติ(nature) หากแต่เป็นโลกในส่วนที่สัมพันธ์กับวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้น(human artifact) ในสิ่งเดียวกันนี้โลกแบบนี้ก็ หมายถึง ความสัมพันธ์ที่ดำเนินไปแล้วทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้ในสังคม เช่น ในโลกที่มนุษย์สร้างความสัมพันธ์ในแบบสังคมมวลชน(mass society) โลกแบบนี้หมายถึงโลกที่เรายากที่จะนับจำนวนสมาชิก และเป็นโลกที่ไม่สามารถใช้อำนาจในการรวบผู้คนได้ ดังนั้นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นพร้อม ๆกันในโลกแบบนี้คือ อยู่ร่วมกัน(together), มีความสัมพันธ์กัน(relate) และการแบ่งแยกกัน(separate) [7]
เราจะเห็นว่า “ส่วนสาธารณะ”(public realm)ที่ Arendt กล่าวถึงนั่น เป็นสิ่งสำคัญอันแสดงให้เห็นถึงสภาวะของความเป็นมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่ ส่วนสาธารณะเป็นได้ทั้งบริบทของ “งาน”(work), “การทำงาน”(working), “การกระทำ”(action) ซึ่งเป็นโลกที่มนุษย์สร้างขึ้น(human artifact) สิ่งเหล่านี้คือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นภายใต้โครงสร้างของสังคมที่มนุษย์แสดงตัวเองเป็นองค์ประธาน(subject)ของการกระทำทั้งหมด ตามแนวคิดของ Arendt สังคมสมัยใหม่นั่นมี “ขอบเขต”(realm)ที่แน่นอนเด่นชัดสามารถแบ่งแยกได้ รวมทั้งมีพัฒนาการของทั้งเขตส่วนตัว, ส่วนสาธารณะ, ส่วนสังคม ที่บ่งบอกถึงยุคสมัยได้
อย่างไรก็ดีนักคิดรุ่นหลังเห็นว่า เราไม่อาจแบ่งทั้งขอบเขต (realm) หรือปริมณฑล (sphere) ที่แน่นอนหรือยุคสมัยได้ สิ่งที่นักวิชาการรุ่นหลังนำมาใช้เป็นตัวแบบของการวิเคราะห์ คือ “พื้นที่”(space) โดยพื้นที่เราควรจะกล่าวถึงคือ การผลิตพื้นที่ (production of space) และ การสร้างภาพตัวแทน (representation) ในความหมายของ “พื้นที่” ซึ่งไม่ได้เป็นสรรพสิ่ง(things)ที่ต้องเป็นจริงเสมอไป หากแต่อาจเป็นเพียงพื้นที่เชิงจินตนาการซึ่งมนุษย์รับรู้ไว้(perceive)เท่านั้น อย่างไรก็ดีสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้มนุษย์มี “ปฏิบัติการ”(practice)[8]ต่างๆกันในสังคม
(3)
ภาพของการ บริโภคเซ็กส์สด ๆ บริเวณริมถนนกำลังถูกตั้งคำถามว่า เป็นเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องสาธารณะกันแน่ เพราะแน่นอนเป็นปราฏกการณ์ที่เกิดขึ้นบนพื้นที่สาธารณะ “ถนน” สายหลักของกรุงเทพ ฯ ที่กำลังสะท้อนให้เห็นถึงสังคมการบริโภคที่ มนุษย์เราสามารถซื้อ-ขาย เสพ บริโภคทุกอย่างได้ โดยอ้างความถูกต้องและความชอบธรรมให้กับสิ่งนั้น ๆ ปรากฏการณ์ขึ้นที่เกิดขึ้นบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เป็นการอ้างความชอบธรรมของคนที่เข้ามาใช้พื้นที่เหล่านี้ แต่ความชอบธรรมที่เป็นข้ออ้างเหล่านี้ขึ้นอยู่กับเป็นของใคร ชุดของใครของมัน ไม่ว่าหญิงชาย คนขายหรือคนซื้อ วัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ เป็นต้น รวมถึงความหมายที่ถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่นั้น ได้ผ่านการแสดงออกของผู้คนที่ใช้พื้นที่เหล่านั้นอย่างไร ?
“เซ็กส์” กลายเป็นสินค้าที่ถูกสร้างความหมายขึ้น อีกทั้งกลายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่ถูกให้คุณค่าโดยสังคม และถูกควบคุมโดยพิธีกรรมที่สังคมกำหนด ในอดีตการกล่าวถึง “เซ็กส์” หรือ “การบริโภคเซ็กส์” เป็นเรื่องที่ปรากฏในปริมณฑลส่วนตัว เป็นเรื่องที่ถูกปกปิด และอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เข้ามาควบคุมอย่างเคร่งครัด รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงสภาวะความเป็นมนุษย์ ขณะที่ในปัจจุบัน เรื่อง “เซ็กส์” และ “การบริโภคเซ็กส์” ถึงขยายขอบเขตของพื้นที่และปริมณฑลที่เป็นสาธารณะมากขึ้น โดยมองว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ “ปรากฏ”(appearance)ให้เห็นหรือได้ยินโดยทุกๆคนในสังคม และสามารถกระจายไปในวงกว้างได้มากที่สุด โดยที่ทุกคนในสังคมสามารถรับรู้เรื่องราวและประสบการณ์ของคนอื่นได้ดีพอๆกับที่คนอื่นก็สามารถรู้เรื่องราวของเรา ดังนั้นการบริโภคและซื้อขายเซ็กส์ที่เกิดขึ้นบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ จึงเป็นสิ่งที่คาบเกี่ยวกับเงื่อนไขของการดำรงอยู่ของมนุษย์ในเรื่องของ “งาน” “การงาน” และ “การกระทำ” ของมนุษย์ ที่ถูกผลิตภายใต้พื้นที่สาธารณะ จนในที่สุดกลายเป็นกิจกรรมที่ดูเสมือนเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับนักเที่ยวผู้ชายที่มาให้ซื้อสินค้า และเป็นกิจกรรมของผู้ขาย-เด็กสาวซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ของการทำงาน บนพื้นฐานการแลกเปลี่ยนที่มีระบบทุนนิยมเข้ามาสนับสนุนการซื้อขายและการบริโภคสินค้าเหล่านี้
“สินค้า” ที่ถูกนำเสนอขายบนถนน ฯ กลายเป็นสินค้าทางเพศ โดยมี “ร่ายกาย” เป็นเครื่องมือของการสื่อสารระหว่างโลกของความจริงและความจริงเทียม และโลกของความเป็นส่วนตัวกับโลกของสาธารณะ นั่นก็คือ “ร่างกายของเด็กสาว” และ “แฟชั่นการแต่งกาย” เป็นอาวุธที่พยายามสื่อเชื่อมกับโลกส่วนตัวของพวกเขาเพื่อนำเสนอต่อสาธารณะ และการสนับสนุนชุดความคิดเชิงอุดมคติของผู้ชายที่มีต่อผู้หญิง โดยเฉพาะเด็กสาววัยรุ่นที่ต้องการปรุงแต่งและการนำเสนอแฟชั่นต่าง ๆ มาประดับตกแต่งร่างกายของตนเอง เพื่ออวดอ้างและเสนอว่าสินค้าของตนเองดีที่สุด และน่าสนใจที่สุด เพื่อเป็นการเชิญชวนให้เกิดการซื้อขายสินค้าเหล่านี้ขึ้นมา ในที่สุดปรากฏการณ์เหล่านี้กลายเป็น “พิธีกรรม” ที่สำคัญที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสนับสนุนสังคมการบริโภคของระบบทุนนิยม ที่มีความชอบธรรมมากขึ้นในสังคม การเป็นผลผลิตของพื้นที่และภาพตัวแทนที่ถูกนำเสนอเพื่อให้ผู้คนในสังคมรับรู้และสร้างจินตนาการต่อไป
บริเวณถนนเพชรบุรีตัดใหม่ จึงกลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่มีปฏิบัติการทางสังคม โดยอาศัยช่วงเวลาที่หลุดพ้นจากการทำงานงานบนสภาพความเป็นจริง เป็นพื้นที่ของการซื้อขายหรือตลาดที่ถูกสร้างเป็นตัวแทนที่แสดงถึงความเป็นชายขอบของสังคมเมืองในช่วงเวลาปกติ หรือแม้แต่เด็กสาวที่เป็นเสมือนผู้ขาย และผู้ชายเป็นเสมือนผู้ซื้อต่างก็ทำหน้าที่ของตนเองบนพื้นที่ ที่อาศัยการปฏิบัติการทางสังคมหรือพิธีกรรมที่ปลดเปลื้องตัวตนออกจากโลกของความเป็นจริงบนพื้นที่สาธารณะ
(4)
จากปรากฏการณ์เหล่านี้ กลายเป็นสิ่งที่มักจะถูกตั้งคำถามตามมาเสมอว่า “จะทำอย่างไรต่อไป ?” “จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้แบบไหนดี ?” หรือ บางคนก็หันกลับมาสนับสนุน ชมรมของคุณระเบียบรัตน์ หรือบางคนก็หันกลับมาสนับสนุนวิธีการแบบทาทายัง รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ต่างคิดหาหนทาง แต่หนทางเหล่านั้นมักจะเกิดจากคนที่ไม่มีประสบการณ์โดยตรง เกิดจากคนที่คิดว่าไม่ควรจะมีในสังคม เกิดจากคนที่ไม่ยอมรับความจริง เกิดจากคนที่หลอกตัวเองทั้งนั้น ทั้ง ๆ ที่เราควรจะต้องกลับมาหันหน้ายอมรับความจริง และไม่หลอกตัวเองก่อนดีกว่า แล้วจึงหาวิธีการแก้ไขร่วมกันโดยไม่โทษว่าเป็นเพราะคนโน้นคนนี้ หรือเป็นเพราะสิ่งโน้นสิ่งนี้ โดยเฉพาะโทษโลกภายนอกที่ไม่ใช่โลกของสังคมไทย ซึ่งคำกล่าวโทษเหล่านี้ค่อนข้างเชย และไร้สาระสิ้นดี
ดังนั้นเงื่อนไขบนสภาวะการดำรงอยู่ของมนุษย์บนปริมณฑลสาธารณะ มิอาจแยกระหว่างความเป็นส่วนตัวและความเป็นสาธารณะ เพราะทั้งสองพื้นที่หรือปริมณฑลเป็นสิ่งที่อยู่ควบคู่กันและต้องไปด้วยกัน อนึ่งในมิติของผู้ใหญ่ในสังคม หรือผู้มีอำนาจในสังคมไม่ใช่เป็นเพียงการใช้อำนาจที่ครอบคลุมหรือพยายามจะครอบงำสังคมเท่านั้น แต่ควรเข้าใจบริบทความจริงที่เกิดขึ้นในสังคมและยอมรับกับความจริงที่เกิดขึ้น เพื่อจะทำให้เราค้นพบว่า ความจริงเหล่านั้นคืออะไรกันแน่ จะเป็นหนทางหนึ่งที่สามารถนำเราไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกทิศถูกทาง ไม่ต้องงมเข็มในมหาสมุทร เพราะคำตอบที่ได้มิอาจหลุดพ้นจากพื้นที่ที่เป็นส่วนตัวและส่วนสาธารณะที่อยู่ภายในตัวตนของแต่ละคน ซึ่งมันเป็นทั้งส่วนที่เรียกว่า “Subject” และ “Object” ของเราทั้งสิ้น
สุดท้ายยังคงเชื่อคำพูดของกลุ่มเอ็มพาวเวอร์ที่ว่า “เด็กผู้หญิงที่ดี ไปได้เฉพาะสวรรค์เท่านั้น แต่เด็กผู้หญิงเลวสามารถไปได้ทุก ๆ ที่” และคำพูดเหล่านี้หากผู้ที่มีอำนาจมานั่งร่วมคิดกันจะพบว่า การจัดการปัญหาหรือความพยายามแก้ปัญหา ต้องอาศัยผู้ที่อยู่กับปัญหา ไม่ใช่ขอความคิดเห็นจากผู้ที่อยู่เหนือปัญหา และไม่เคยเผชิญกับปัญหา ทั้งนี้ต้องทำความเข้าใจสภาวะความเป็นมนุษย์บนพื้นที่สาธารณะด้วย
Fraser, Nancy.(1999) “Politic, Culture, and the Public Sphere: Toward a Postmodernism Concept”. Social Postmodernism. Nicholso, L. & Steven Seidman.(eds.) Cambridge: Universiti fo Cambridge Press
Gilroy, P.(1993) Black Atlantic.London: Verso
Habermas, J.(1989). The Structural Transformation of Public Sphere. New York :Polity Press
Hanna, Arendt.(1958) The Human Condition. Chicago:University of Chicago Press
Hall, S. (1996) ‘Introduction : Who Need Identity?’ in Questions of Cultural Identity. Stuart Hall & Paul Du Gay eds. London: Sage
(1997)‘Minimal selves’in Studying Culture: An introduction Reader.London: Arnold.
Hill, M. & Warren Montag. (2000). “Introduction”. Masses, Classes and The public Sphere. Hill, M. & Warren Montag(eds.) London:Verso
Jackson Peter (1999). , “Tolerant but Unaccepting : The Myth of a Thai Gay Paradise” in Peter Jackson and Nerida M.Cook.(eds.) Genders & Sexualities in Modern Thailand. Silkworm Books, Chiang Mai, Pp.226-242.
Kellner ,Douglas. “Habermas , The Public Sphere,and Democracy : A Critical Intervention. http://www.gseis.ucla.edu/faculty/kellner.html/accessed14/05/46
[1] ต้องการเสนอภาพนัยยะของการบริโภคสินค้าอีกรูปแบบหนึ่งบนพื้นที่สาธารณะที่ปรากฏขึ้นจริงในสังคมไทย อีกทั้งต้องการตั้งคำถามกับสังคมว่า “ความเป็นส่วนตัวกับความเป็นสาธารณะ” ในความจริงสามารถแบ่งแยกกับได้หรือไม่ ?
[2] Arendt The Human Condition. Chicago:University of Chicago Press 1958:7-8
Arendt อธิบายเพิ่มเติมว่าไม่ได้ใช้คำนี้ตามความหมายเดิม ความแตกต่างที่เขาอ้างถึงคือ ความหมายที่เขาใช้อิงไปทางแนวทางแบบปฏิบัตินิยม(pragmatism) มากกว่าที่จะหาตรรกะอันเป็นเหตุเป็นผลของประสบการณ์ของการกระทำ( ดูเพิ่มเติมในเล่มเดียวกัน, หน้า 17)
[3] Ibid , p.9
[4] Ibid ,11
[5] การเกิดขึ้นของ public sphere ในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 16 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของสังคมประชา(civil society)และการเรียกร้องปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยพวกกระฎุมพีดู Jurgen Habermas(1989), The Structural Transformation of Public Sphere
[6] Ibid ,50-51
[7] Ibid,:52-53
[8] แนวคิดเรื่อง “ภาคปฏิบัติ”(practice)ที่จริงก็แย้งกับ “การกระทำ”(action)ที่ Arendt กล่าวไว้ค่อนข้างมาก เพราะในขณะที่ action ยังสนใจในส่วนของแรงงานที่อธิบาย(describe)ภาวะวิสัย แต่ practice กลับสนใจไปที่ภาษาต่างหากที่รับรู้(perceive)ภาวะวิสัยที่มีลักษณะเป็นสัมพัทธ์(ดูข้อถกเถียงเพิ่มเติมใน Len Doyal & Roger Harris “The Practical Foundation of Human Understanding” New Left Review no.139,1983 และ Bourdieu, P,1977, Outline of a Theory of Practice.)
(1)
ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเป็นช่วงที่เราได้รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศของหญิงชาย วัยรุ่นค่อนข้างมาก จนคิดอยู่เหมือนกันว่า เมื่อเราเจอใคร ๆ หรือแม้แต่นักศึกษา อาจารย์ในสำนัก ฯ จะต้องเล่าให้ฟัง ทำให้หลายคนไม่เข้าใจอาจจะคิดว่า “อาจารย์คนนี้เซ็กส์ขึ้นสมองหรือเปล่า ?” หรือ “อาจารย์คนนี้ไม่เข้าใจชีวิตวัยรุ่นเลย หัวเก่าจัง...” “อาจารย์เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว ...ไม่เห็นตื่นเต้นเลย” ทำให้เราเองก็ต้องกลับมานั่งคิดเหมือนกัน กับการตัดสินใจเขียนเรื่องนี้ดีหรือไม่ ? เพราะมันน่าเบื่อ หรือมันล่อแหลมต่อศีลธรรม หรือปล่อยมันไปแล้วแต่ใครจะคิด สังคมไม่ใช่ของเราคนเดียวไม่ต้องเอาธุระกับมันก็ได้ หรือว่าก็เราไม่มีลูก...สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็เกิดกับลูกหลานคนอื่น ไม่ใช่ลูกเรานี่หว่า.......
เรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่งในฐานะที่เรามาอยู่หัวเมืองทางปักษ์ใต้หลายเดือน ทำให้เมื่อเข้าไปในเมืองใหญ่ก็ทำให้ตามเหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่ค่อยจะทัน จะติดตามได้ก็เฉพาะในโทรทัศน์เท่านั้น ไม่ตื่นเต้นพอ...
ขณะนั่งบนรถ....เมื่อรถเหลียวเข้าถนนเพชรบุรีตัดใหม่....สงสัยว่า “เออะทำไมรถติดจัง ? น่าจะเป็นต้นเดือนด้วยมั้ง” เราเห็นหญิงสาววัยรุ่นหน้าตาน่ารักมาก แต่งตัวน่ารักน่าชัง บางคนหวาน บางคนเปรี้ยว บางคนดูดีสะอาด ใสซื่อบริสุทธิ์ ฯลฯ ... แล้วเราก็ได้ยินเสียงตอบมาว่า “พี่ไปเที่ยวกับหนูไม๊?” “พี่ราคากันเอง” ...ตลอดทางที่นั่งบนรถ แต่ก็ถึงบางอ้อเมื่อนึกถึงรายการถอดรหัส ทาง ITV และรายการหลุมดำ ช่อง 9 ที่เคยนำประเด็นบริเวณถนนเพชรบุรี ฯ มากล่าวถึง และเมื่อตัวเองนั่งรถผ่านก็คิดว่าน่านำมาเป็นประเด็นในการพูดคุยที่ต้องอาศัยข้อคิดหรือการตั้งคำถามที่ต้องการหาคำตอบจากผู้คนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะอาจารย์ นักศึกษาช่วยกันมอง ช่วยกันตั้งคำถาม และช่วยกันหาคำตอบทีว่าต่อไปเราจะต้องทำอะไรกันต่อไป.....เราจะต้องเตรียมพร้อมกับปรากฏการณ์นี้หรือไม่ ? อย่างไร ?
(2)
หากกล่าวถึง สภาวะความเป็นมนุษย์และส่วนสาธารณะ Hannah Arendt นักปรัชญาร่วมสมัยคนสำคัญในศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา ได้เสนอว่า มนุษย์มีพื้นฐานด้านกิจกรรมของอยู่ 3 ลักษณะ คือ งาน(work), การงาน(working) และการกระทำ(action) ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เกี่ยวพันกันเป็นเงื่อนไขต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ Arendt เรียกกิจกรรมทั้งสามนี้ว่า “Vita Activa”[2] สภาวะความเป็นมนุษย์นี้มิใช่จำเป็นต้องมาจากเงื่อนไขทั้ง 3 เพียงด้านหนึ่งด้านใด Arendt ได้ขยายความไว้ว่า [3]
“ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้เข้าไปมีส่วนรวมนั่นมันก็ได้กลับมาเป็นเงื่อนไขต่อการดำรงอยู่ของเขาทันทีเช่นเดียวกัน…สภาวะวิสัยของโลก – วัตถุหรือลักษณะของสิ่งของ – และสภาวะความเป็นมนุษย์นั้นได้เอื้อซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพราะการดำรงอยู่ของมนุษย์เป็นสภาวะที่ถูกสร้างเป็นเงื่อนไขขึ้น และมันก็ไม่สามารถเป็นไปได้หากปราศจากสรรพสิ่งทั้งหลาย(things) พร้อมๆกันนั้นสรรพสิ่งทั้งหลายก็จะกลายเป็นกองปฏิกูลที่เหมือนไม่ได้เป็นโลก(a non-world) หากว่ามันไม่ได้เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสภาวะของการดำรงอยู่ของมนุษย์” (p.9)
ในเงื่อนไขของความเป็นมนุษย์นี้ไม่สามารถที่จะอธิบายจากคำถามที่ว่า “ เราคืออะไร”( What are we?) หรือ “เราคือใคร ?” ( Who are we ?) ด้วยเหตุผลง่ายๆ ก็คือ ไม่มีเงื่อนไขอันสมบูรณ์ของสภาวะของความเป็นมนุษย์ที่จะใช้อธิบายว่า ‘เราเป็นอะไร’ หรือ ‘เราคืออะไร’ ได้อย่างแน่นอน [4] หรือเราอาจจะสรุปง่ายๆก็คือไม่มีธรรมชาติที่แท้จริงของความเป็นมนุษย์นั่นเอง กิจกรรมทั้ง 3 ที่ Arendt ได้กล่าวไว้ตั้งแต่ต้นจึงเป็นส่วนที่เกี่ยวโยงกันและก็ต่างเป็น subject (world of men )และ object (man made things)ของสภาวะความเป็นมนุษย์
เมื่อกิจกรรมทั้ง 3 ถูกอธิบายบนบริบทของ “เขตส่วนตัว”(the private ream)และ “เขตสาธารณะ”(the public ream) โดยเฉพาะบริบทหลังนี้เป็นส่วนสำคัญที่ Arendt ใช้อธิบายถึง สังคมสมัยใหม่ที่มีขอบเขตสาธารณะคือ ส่วนที่เป็นสังคม(society) ซึ่งในสังคมดั้งเดิมนั้นไม่มีส่วนนี้อยู่ Arendt เห็นว่า สิ่งหนึ่งของความสำคัญของสังคมสมัยใหม่คือการ แบ่งแยกของ “ขอบเขตส่วนตัว”และ “ขอบเขตสาธารณะ” โดยความหมายของ “สาธารณะ”(public)นั้น เห็นว่ามี 2 ลักษณะแม้ว่าจะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันแต่ก็ไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ที่ต้องร่วมอยู่ด้วยกันเสมอไป
ความหมายแรก “สาธารณะ” (the public) หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ “ปรากฏ”(appearance)ให้เห็นหรือได้ยินโดยทุกๆคนในสังคม และสามารถกระจายไปในวงกว้างได้มากที่สุด โดยที่ทุกคนในสังคมสามารถรู้เรื่องราวและประสบการณ์ของคนอื่นได้ดีพอๆกับที่คนอื่นก็สามารถรู้เรื่องราวของเรา ในอดีตก่อนสังคมสมัยใหม่การที่จะรู้จักกันได้จะเกิดในขอบเขตส่วนตัว และเราก็มักทึกทักว่าสิ่งที่เรารู้หรือแลกเปลี่ยนกันในปริมณฑลนี้ คือ ลักษณะของความจริง(a kind of reality) แต่ใน “สาธารณะ”นั่นจะกลับกัน เพราะแม้ความเป็นส่วนตัวและความเป็นปัจเจกจะลดลง แต่ความสามารถของการสื่อสารระหว่างบุคคลมีมากขึ้น และก็เปิดโอกาสต่อการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายมากขึ้น[5] ปรากฏการณ์เหล่านี้คือลักษณะของ “public appearance” ที่ Arendt เห็นว่าเป็นสิ่งที่ควรเป็นอย่างทั่วไป(common)ในสังคมสมัยใหม่ [6]
ส่วนความหมายที่ 2 “สาธารณะ” (the public) หมายถึง โลก(world) โดยที่โลกนี้ไม่ได้หมายถึงโลกมนุษย์(earth)หรือธรรมชาติ(nature) หากแต่เป็นโลกในส่วนที่สัมพันธ์กับวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้น(human artifact) ในสิ่งเดียวกันนี้โลกแบบนี้ก็ หมายถึง ความสัมพันธ์ที่ดำเนินไปแล้วทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้ในสังคม เช่น ในโลกที่มนุษย์สร้างความสัมพันธ์ในแบบสังคมมวลชน(mass society) โลกแบบนี้หมายถึงโลกที่เรายากที่จะนับจำนวนสมาชิก และเป็นโลกที่ไม่สามารถใช้อำนาจในการรวบผู้คนได้ ดังนั้นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นพร้อม ๆกันในโลกแบบนี้คือ อยู่ร่วมกัน(together), มีความสัมพันธ์กัน(relate) และการแบ่งแยกกัน(separate) [7]
เราจะเห็นว่า “ส่วนสาธารณะ”(public realm)ที่ Arendt กล่าวถึงนั่น เป็นสิ่งสำคัญอันแสดงให้เห็นถึงสภาวะของความเป็นมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่ ส่วนสาธารณะเป็นได้ทั้งบริบทของ “งาน”(work), “การทำงาน”(working), “การกระทำ”(action) ซึ่งเป็นโลกที่มนุษย์สร้างขึ้น(human artifact) สิ่งเหล่านี้คือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นภายใต้โครงสร้างของสังคมที่มนุษย์แสดงตัวเองเป็นองค์ประธาน(subject)ของการกระทำทั้งหมด ตามแนวคิดของ Arendt สังคมสมัยใหม่นั่นมี “ขอบเขต”(realm)ที่แน่นอนเด่นชัดสามารถแบ่งแยกได้ รวมทั้งมีพัฒนาการของทั้งเขตส่วนตัว, ส่วนสาธารณะ, ส่วนสังคม ที่บ่งบอกถึงยุคสมัยได้
อย่างไรก็ดีนักคิดรุ่นหลังเห็นว่า เราไม่อาจแบ่งทั้งขอบเขต (realm) หรือปริมณฑล (sphere) ที่แน่นอนหรือยุคสมัยได้ สิ่งที่นักวิชาการรุ่นหลังนำมาใช้เป็นตัวแบบของการวิเคราะห์ คือ “พื้นที่”(space) โดยพื้นที่เราควรจะกล่าวถึงคือ การผลิตพื้นที่ (production of space) และ การสร้างภาพตัวแทน (representation) ในความหมายของ “พื้นที่” ซึ่งไม่ได้เป็นสรรพสิ่ง(things)ที่ต้องเป็นจริงเสมอไป หากแต่อาจเป็นเพียงพื้นที่เชิงจินตนาการซึ่งมนุษย์รับรู้ไว้(perceive)เท่านั้น อย่างไรก็ดีสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้มนุษย์มี “ปฏิบัติการ”(practice)[8]ต่างๆกันในสังคม
(3)
ภาพของการ บริโภคเซ็กส์สด ๆ บริเวณริมถนนกำลังถูกตั้งคำถามว่า เป็นเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องสาธารณะกันแน่ เพราะแน่นอนเป็นปราฏกการณ์ที่เกิดขึ้นบนพื้นที่สาธารณะ “ถนน” สายหลักของกรุงเทพ ฯ ที่กำลังสะท้อนให้เห็นถึงสังคมการบริโภคที่ มนุษย์เราสามารถซื้อ-ขาย เสพ บริโภคทุกอย่างได้ โดยอ้างความถูกต้องและความชอบธรรมให้กับสิ่งนั้น ๆ ปรากฏการณ์ขึ้นที่เกิดขึ้นบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เป็นการอ้างความชอบธรรมของคนที่เข้ามาใช้พื้นที่เหล่านี้ แต่ความชอบธรรมที่เป็นข้ออ้างเหล่านี้ขึ้นอยู่กับเป็นของใคร ชุดของใครของมัน ไม่ว่าหญิงชาย คนขายหรือคนซื้อ วัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ เป็นต้น รวมถึงความหมายที่ถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่นั้น ได้ผ่านการแสดงออกของผู้คนที่ใช้พื้นที่เหล่านั้นอย่างไร ?
“เซ็กส์” กลายเป็นสินค้าที่ถูกสร้างความหมายขึ้น อีกทั้งกลายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่ถูกให้คุณค่าโดยสังคม และถูกควบคุมโดยพิธีกรรมที่สังคมกำหนด ในอดีตการกล่าวถึง “เซ็กส์” หรือ “การบริโภคเซ็กส์” เป็นเรื่องที่ปรากฏในปริมณฑลส่วนตัว เป็นเรื่องที่ถูกปกปิด และอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เข้ามาควบคุมอย่างเคร่งครัด รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงสภาวะความเป็นมนุษย์ ขณะที่ในปัจจุบัน เรื่อง “เซ็กส์” และ “การบริโภคเซ็กส์” ถึงขยายขอบเขตของพื้นที่และปริมณฑลที่เป็นสาธารณะมากขึ้น โดยมองว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ “ปรากฏ”(appearance)ให้เห็นหรือได้ยินโดยทุกๆคนในสังคม และสามารถกระจายไปในวงกว้างได้มากที่สุด โดยที่ทุกคนในสังคมสามารถรับรู้เรื่องราวและประสบการณ์ของคนอื่นได้ดีพอๆกับที่คนอื่นก็สามารถรู้เรื่องราวของเรา ดังนั้นการบริโภคและซื้อขายเซ็กส์ที่เกิดขึ้นบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ จึงเป็นสิ่งที่คาบเกี่ยวกับเงื่อนไขของการดำรงอยู่ของมนุษย์ในเรื่องของ “งาน” “การงาน” และ “การกระทำ” ของมนุษย์ ที่ถูกผลิตภายใต้พื้นที่สาธารณะ จนในที่สุดกลายเป็นกิจกรรมที่ดูเสมือนเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับนักเที่ยวผู้ชายที่มาให้ซื้อสินค้า และเป็นกิจกรรมของผู้ขาย-เด็กสาวซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ของการทำงาน บนพื้นฐานการแลกเปลี่ยนที่มีระบบทุนนิยมเข้ามาสนับสนุนการซื้อขายและการบริโภคสินค้าเหล่านี้
“สินค้า” ที่ถูกนำเสนอขายบนถนน ฯ กลายเป็นสินค้าทางเพศ โดยมี “ร่ายกาย” เป็นเครื่องมือของการสื่อสารระหว่างโลกของความจริงและความจริงเทียม และโลกของความเป็นส่วนตัวกับโลกของสาธารณะ นั่นก็คือ “ร่างกายของเด็กสาว” และ “แฟชั่นการแต่งกาย” เป็นอาวุธที่พยายามสื่อเชื่อมกับโลกส่วนตัวของพวกเขาเพื่อนำเสนอต่อสาธารณะ และการสนับสนุนชุดความคิดเชิงอุดมคติของผู้ชายที่มีต่อผู้หญิง โดยเฉพาะเด็กสาววัยรุ่นที่ต้องการปรุงแต่งและการนำเสนอแฟชั่นต่าง ๆ มาประดับตกแต่งร่างกายของตนเอง เพื่ออวดอ้างและเสนอว่าสินค้าของตนเองดีที่สุด และน่าสนใจที่สุด เพื่อเป็นการเชิญชวนให้เกิดการซื้อขายสินค้าเหล่านี้ขึ้นมา ในที่สุดปรากฏการณ์เหล่านี้กลายเป็น “พิธีกรรม” ที่สำคัญที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสนับสนุนสังคมการบริโภคของระบบทุนนิยม ที่มีความชอบธรรมมากขึ้นในสังคม การเป็นผลผลิตของพื้นที่และภาพตัวแทนที่ถูกนำเสนอเพื่อให้ผู้คนในสังคมรับรู้และสร้างจินตนาการต่อไป
บริเวณถนนเพชรบุรีตัดใหม่ จึงกลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่มีปฏิบัติการทางสังคม โดยอาศัยช่วงเวลาที่หลุดพ้นจากการทำงานงานบนสภาพความเป็นจริง เป็นพื้นที่ของการซื้อขายหรือตลาดที่ถูกสร้างเป็นตัวแทนที่แสดงถึงความเป็นชายขอบของสังคมเมืองในช่วงเวลาปกติ หรือแม้แต่เด็กสาวที่เป็นเสมือนผู้ขาย และผู้ชายเป็นเสมือนผู้ซื้อต่างก็ทำหน้าที่ของตนเองบนพื้นที่ ที่อาศัยการปฏิบัติการทางสังคมหรือพิธีกรรมที่ปลดเปลื้องตัวตนออกจากโลกของความเป็นจริงบนพื้นที่สาธารณะ
(4)
จากปรากฏการณ์เหล่านี้ กลายเป็นสิ่งที่มักจะถูกตั้งคำถามตามมาเสมอว่า “จะทำอย่างไรต่อไป ?” “จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้แบบไหนดี ?” หรือ บางคนก็หันกลับมาสนับสนุน ชมรมของคุณระเบียบรัตน์ หรือบางคนก็หันกลับมาสนับสนุนวิธีการแบบทาทายัง รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ต่างคิดหาหนทาง แต่หนทางเหล่านั้นมักจะเกิดจากคนที่ไม่มีประสบการณ์โดยตรง เกิดจากคนที่คิดว่าไม่ควรจะมีในสังคม เกิดจากคนที่ไม่ยอมรับความจริง เกิดจากคนที่หลอกตัวเองทั้งนั้น ทั้ง ๆ ที่เราควรจะต้องกลับมาหันหน้ายอมรับความจริง และไม่หลอกตัวเองก่อนดีกว่า แล้วจึงหาวิธีการแก้ไขร่วมกันโดยไม่โทษว่าเป็นเพราะคนโน้นคนนี้ หรือเป็นเพราะสิ่งโน้นสิ่งนี้ โดยเฉพาะโทษโลกภายนอกที่ไม่ใช่โลกของสังคมไทย ซึ่งคำกล่าวโทษเหล่านี้ค่อนข้างเชย และไร้สาระสิ้นดี
ดังนั้นเงื่อนไขบนสภาวะการดำรงอยู่ของมนุษย์บนปริมณฑลสาธารณะ มิอาจแยกระหว่างความเป็นส่วนตัวและความเป็นสาธารณะ เพราะทั้งสองพื้นที่หรือปริมณฑลเป็นสิ่งที่อยู่ควบคู่กันและต้องไปด้วยกัน อนึ่งในมิติของผู้ใหญ่ในสังคม หรือผู้มีอำนาจในสังคมไม่ใช่เป็นเพียงการใช้อำนาจที่ครอบคลุมหรือพยายามจะครอบงำสังคมเท่านั้น แต่ควรเข้าใจบริบทความจริงที่เกิดขึ้นในสังคมและยอมรับกับความจริงที่เกิดขึ้น เพื่อจะทำให้เราค้นพบว่า ความจริงเหล่านั้นคืออะไรกันแน่ จะเป็นหนทางหนึ่งที่สามารถนำเราไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกทิศถูกทาง ไม่ต้องงมเข็มในมหาสมุทร เพราะคำตอบที่ได้มิอาจหลุดพ้นจากพื้นที่ที่เป็นส่วนตัวและส่วนสาธารณะที่อยู่ภายในตัวตนของแต่ละคน ซึ่งมันเป็นทั้งส่วนที่เรียกว่า “Subject” และ “Object” ของเราทั้งสิ้น
สุดท้ายยังคงเชื่อคำพูดของกลุ่มเอ็มพาวเวอร์ที่ว่า “เด็กผู้หญิงที่ดี ไปได้เฉพาะสวรรค์เท่านั้น แต่เด็กผู้หญิงเลวสามารถไปได้ทุก ๆ ที่” และคำพูดเหล่านี้หากผู้ที่มีอำนาจมานั่งร่วมคิดกันจะพบว่า การจัดการปัญหาหรือความพยายามแก้ปัญหา ต้องอาศัยผู้ที่อยู่กับปัญหา ไม่ใช่ขอความคิดเห็นจากผู้ที่อยู่เหนือปัญหา และไม่เคยเผชิญกับปัญหา ทั้งนี้ต้องทำความเข้าใจสภาวะความเป็นมนุษย์บนพื้นที่สาธารณะด้วย
Fraser, Nancy.(1999) “Politic, Culture, and the Public Sphere: Toward a Postmodernism Concept”. Social Postmodernism. Nicholso, L. & Steven Seidman.(eds.) Cambridge: Universiti fo Cambridge Press
Gilroy, P.(1993) Black Atlantic.London: Verso
Habermas, J.(1989). The Structural Transformation of Public Sphere. New York :Polity Press
Hanna, Arendt.(1958) The Human Condition. Chicago:University of Chicago Press
Hall, S. (1996) ‘Introduction : Who Need Identity?’ in Questions of Cultural Identity. Stuart Hall & Paul Du Gay eds. London: Sage
(1997)‘Minimal selves’in Studying Culture: An introduction Reader.London: Arnold.
Hill, M. & Warren Montag. (2000). “Introduction”. Masses, Classes and The public Sphere. Hill, M. & Warren Montag(eds.) London:Verso
Jackson Peter (1999). , “Tolerant but Unaccepting : The Myth of a Thai Gay Paradise” in Peter Jackson and Nerida M.Cook.(eds.) Genders & Sexualities in Modern Thailand. Silkworm Books, Chiang Mai, Pp.226-242.
Kellner ,Douglas. “Habermas , The Public Sphere,and Democracy : A Critical Intervention. http://www.gseis.ucla.edu/faculty/kellner.html/accessed14/05/46
[1] ต้องการเสนอภาพนัยยะของการบริโภคสินค้าอีกรูปแบบหนึ่งบนพื้นที่สาธารณะที่ปรากฏขึ้นจริงในสังคมไทย อีกทั้งต้องการตั้งคำถามกับสังคมว่า “ความเป็นส่วนตัวกับความเป็นสาธารณะ” ในความจริงสามารถแบ่งแยกกับได้หรือไม่ ?
[2] Arendt The Human Condition. Chicago:University of Chicago Press 1958:7-8
Arendt อธิบายเพิ่มเติมว่าไม่ได้ใช้คำนี้ตามความหมายเดิม ความแตกต่างที่เขาอ้างถึงคือ ความหมายที่เขาใช้อิงไปทางแนวทางแบบปฏิบัตินิยม(pragmatism) มากกว่าที่จะหาตรรกะอันเป็นเหตุเป็นผลของประสบการณ์ของการกระทำ( ดูเพิ่มเติมในเล่มเดียวกัน, หน้า 17)
[3] Ibid , p.9
[4] Ibid ,11
[5] การเกิดขึ้นของ public sphere ในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 16 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของสังคมประชา(civil society)และการเรียกร้องปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยพวกกระฎุมพีดู Jurgen Habermas(1989), The Structural Transformation of Public Sphere
[6] Ibid ,50-51
[7] Ibid,:52-53
[8] แนวคิดเรื่อง “ภาคปฏิบัติ”(practice)ที่จริงก็แย้งกับ “การกระทำ”(action)ที่ Arendt กล่าวไว้ค่อนข้างมาก เพราะในขณะที่ action ยังสนใจในส่วนของแรงงานที่อธิบาย(describe)ภาวะวิสัย แต่ practice กลับสนใจไปที่ภาษาต่างหากที่รับรู้(perceive)ภาวะวิสัยที่มีลักษณะเป็นสัมพัทธ์(ดูข้อถกเถียงเพิ่มเติมใน Len Doyal & Roger Harris “The Practical Foundation of Human Understanding” New Left Review no.139,1983 และ Bourdieu, P,1977, Outline of a Theory of Practice.)
No comments:
Post a Comment