Thursday, October 13, 2011

เปิดประตูอินเดีย.. รู้จักดินแดนอีสาน (อินเดีย)


เปิดประตูอินเดีย.. รู้จักดินแดนอีสาน (อินเดีย)

ศรีสิริมด

ครั้งแรกที่มาเมืองอินเดีย..เห็นคนหน้าตาเหมือนเรา..รู้สึกแสนดีใจ..ยิ้มให้..จะเดินเข้าไปทัก..แต่ว่า....เค้าเดินหนีเราไปไม่ยอมคุยด้วย...อารมณ์ ณ. ตรงนั้น ..สุดโกรธ มารู้ทีหลังว่า ...เค้าไม่ใช่คนไทย...แต่หน้าตาเหมือนเรา...คนอินเดียมักจะบอกว่าเค้ามาจาก นอร์ทอีสต์ (Northeast of India) นั่นเอง
            บทความนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่นำเสนอให้ท่านได้รู้จักดินแดนและผู้คนที่มีความใกล้ชิดกับเราเสมือนพี่น้องที่อยู่ใกล้กันแต่ไม่รู้จักกันเลย และเป็นการเปิดประตูสู่ประเทศอินเดียอีกด้านหนึ่ง
เมื่ออยู่อินเดียเรากลับพบว่าเรามีเพื่อนอีสานมากกว่าคนอินเดียที่หน้าตาแบบแขก (หน้าตาคมเข้ม) ภาษาอังกฤษที่เปล่งออกมานั้นชัดเจนไม่รัวเร็วเหมือนเพื่อนอินเดียคนอื่น ๆ  เพื่อนเราคนอีสานมาจากหลาย ๆ รัฐทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย มีชายแดนติดบังคลาเทศ, พม่า, จีน, ภูฐานและเนปาลมีทั้งสิ้น 8 รัฐ ดังนี้ รัฐสิกขิม (Sikkim), รัฐเมฆกัลยา (Meghalaya) รัฐอรุนาจัล (Arunachal Pradesh), รัฐนากาแลนด์ (Nagaland), รัฐมณีปูร์หรือมณีปุระ (Manipur), รัฐมิโซรัม (Mizoram), รัฐทริปุระ (Tritpura),และรัฐอัสสัม (Assam)  รวมถึงบางส่วนของรัฐเวสต์เบงกอล (West Bengal) นั่นคือ ดาร์จิลิ่ง (Darjeeling), จัลไปกุรี (Jalpaiguri), และคอชห์ บิฮาร์(Koch Bihar) เป็นที่รู้จักกันในนาม “ดินแดน 7 สาวน้อยและ 1 น้องชาย” เพราะเดิมมีเพียง 7 รัฐ ส่วนน้องชายคนใหม่นั้นเพิ่งเกิดเมื่อปีค.ศ.1975 คือรัฐสิกขิมนั่นเอง ในทั้ง 8 รัฐนี้มีประชากรรวมทั้งสิ้น 38,857,769 คน คิดเป็นร้อยละ 3.78 จำนวนประชากรทั้งหมดของอินเดียประมาณ 1,028,610,328 คน  
ประตูสู่แดนอิสานอินเดีย
                                               
               สำหรับผู้คนที่อาศัยส่วนใหญ่ในแถบนี้เป็นกลุ่มเชื้อสายมองโกลอยด์ ผิวเหลือง ถูกจัดเป็นกลุ่มชนเผ่าตามกฎหมายรัฐธรรมนูญของอินเดีย ตามบทบัญญัติข้อที่ 366 (25) ได้อ้างถึง กลุ่มชนเผ่าที่กำหนดตามกฎหมาย (ST Scheduled Tribes) ได้ถูกแจ้งไว้ตามชุมชนที่พวกเขาอาศัยในรัฐหนึ่ง ๆ โดยการบ่งบอกบุคลิกลักษณะและอัตลักษณ์ของกลุ่มชนเผ่านั้น ๆ ด้วยอันประกอบด้วย ตัวชี้วัดลักษณะพื้นฐาน, ลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรม, การแสดงความประหม่าในการติดต่อกับชุมชนใหญ่, การแยกตัวทางภูมิศาสตร์ และ ความล้าหลัง ดังนั้นในประเทศอินเดียเองมีประชากรชนเผ่าทั่วประเทศประมาณ 84,326,240 คน คิดเป็นร้อยละ 8.2 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งมีทั้งสิ้น 1,028,610,328 คน (2001) สำหรับชุมชนชนเผ่าที่อาศัยทั่วประเทศมีประมาณ ร้อยละ 15 ของพื้นที่ทั่วทั้งประเทศอินเดีย ซึ่งมีความหลากหลายทางด้านนิเวศวิทยาและเงื่อนไขทางภูมิอากาศ ที่เชื่อมโยงกับบริเวณพื้นราบลุ่ม ป่าและภูเขา  กลุ่มชนเผ่าเหล่านี้มีระดับความแตกต่างทางด้านการพัฒนาทางสังคม, เศรษฐกิจ และการศึกษา ซึ่งบางชนเผ่าก็ยังมีลักษณะการใช้เทคโนโลยี่ก่อนยุคเกษตรกรรม, ระดับการอ่านออกเขียนได้ต่ำ, จำนวนประชากรลดน้อยลง และระดับเศรษฐกิจเพื่อดำรงชีพ                  (Annual Report 2009 – 10, หน้า 22) สำหรับกลุ่มชนเผ่าในรัฐทั้ง 8 ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือมีประมาณ 10,465,898 คน คิดเป็นร้อยละ 12.41 ของประชากรชนเผ่าทั่วประเทศ และคิดเป็นร้อยละ 26.93 ของจำนวนประชากรทั้ง 8 รัฐ

ตารางแสดง สถิติจำนวนประชากรประเทศอินเดียและประชากรชนเผ่าของประเทศอินเดีย ปี ค.ศ. 2001

รัฐ
จำนวนประชากร
(คน)
จำนวนประชากรชนเผ่า
(คน)
ร้อยละของประชากรชนเผ่าต่อจำนวนประชากรทั่วประเทศ
(%)
ร้อยละของประชากรชนเผ่าในแต่ละรัฐต่อจำนวนประชากรชนเผ่าทั่วประเทศ
(%)
อินเดีย
1,028,610,328
84,326,240
8.2

อรุนาจัลประเทศ
1,097,968
705,158
64.2
0.84
อัสสัม
26,655,528
3,308,570
12.4
3.92
มณีปูร์
2,166,788
741,141
32.3
0.88
เมฆกัลยา
2,318,822
1,992,862
85.9
2.36
มิโซรัม
888,573
839,310
94.5
1
นากาแลนด์
1,990,036
1,774,026
89.1
2.1
สิกขิม
540,851
111,405
20.6
0.13
ทริปูระ
3,199,203
993,426
31.1
1.18



ที่มา: Annual Report 2009 – 10, หน้า 37
              จากรายงานของกระทรวงว่าการชนเผ่า ได้สำรวจกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ในแต่ละรัฐในดินแดนตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ดังนี้ (อ้างแล้ว หน้า 46-55)

1)              รัฐอรุนาจัลประเทศ มีชนเผ่าหลัก ๆ ประมาณ 16 ชนเผ่า ได้แก่ Abor, Aka, Apatani, Nyishi, Galong, Khampti, Khowa, Mishim (Idu, Taroan), Momba, Sherdukpen, Singpho, Hrusso, Tagin, Khamba, Adi, และ Naga

2)              รัฐอัสสัม มีชนเผ่าหลัก ๆ ประมาณ 29 ชนเผ่า โดยแบ่งเป็น 2 เขต ดังนี้

ก)      ชนเผ่าที่อยู่ในเขตอำเภอการ์บิ อังลอง (Karbi Anglong) และดอยคาชาร์ทางเหนือ (North Cachar Hills) ได้แก่ Chakma, Dimasa (Kachari), Garo, Hajong, Hmar, Khasi (Jaintia, Synteng, Pnar, War, Bhoi, Lyngngam), Kuki (Biate, Biete, Changsang, Chongloi, Doungel, Gamalhou, Gangte, Guite, Hanneng, Haokip, Haupit, Haolai, Hengna, Hongsung, Hrangkhwal, Rangkhol, Jongbe, Khawchung, Khawathlang, Khothalong, Khelma, Kholhou, Kipgen, Lengthang, Lhangum, Lhoujem, Lhouvum, Lupheng, Mangjel, Maisao, Riang, Sairhem, Selnam, Singson, Sitlhou, Sukte, Thado, Thangngeu, Uibuh, Vaiphei), Lakher, Man (Tai speaking), Mizo (Lushai), Karbi, Naga, Pawi, Syntheng, Lalung

ข)      ชนเผ่าที่อยู่ในเขตโบโด (Bodo) และนอกเขตอำเภอการ์บิ อังลอง (Karbi Anglong) และดอยคาชาร์ทางเหนือ (North Cachar Hills) ได้แก่  Barmans, Boro, Borokachari, Deori, Hojai, Kachari, Sonwal, Lalung, Mech, Miri, Rabha, Dimasa, Hajong, Singhpho, Khampti และ Garo

3)              รัฐมณีปูร์ มีชนเผ่าหลัก ๆ 33 ชนเผ่า ได้แก่ Aimol, Anal, Angami, Chiru, Chothe, Gangte, Hmar, Kabui, Kacha, Naga, Koirao, Koireng, Kom, Lamgang, Mao, Maram, Maring, Mizo (Lushai), Monsang, Moyon, Paite, Purum, Ralte

4)              รัฐเมฆกัลยา มีชนเผ่าหลัก ๆ 17 ชนเผ่าได้แก่ Chakma, Dimasa (Kachari), Garo, Hajong, Hmar, Khasi (Jaintia, Synteng, Pnar, War, Bhoi, Lyngngam), Kuki (Biate, Biete, Changsan, Chongloi, Doungel, Gamalhou, Gangte, Guite, Hanneng, Haokip or Haupit, Haolai, Hengna, Hongsungh, Hrangkhwal ro Rangkhol, Jongbe, Khawchung, Khawathlang or Khothalong, Khelma, Kholhou, Kipgen, Kuki, Lengthang, Lhangum, Lhoujem, Lhouvun, Lupheng, Mangjel, Missao, Riang, Siarhem, Selnam, Singson, Sitlhou, Sukte, Thado, Thangngeu, Uibuh, Vaiphei), Lakher, Man (Tai-speaking), Mizo (Lushai), Mikir, Naga, Pawi, Synteng, Boro Kacharis, Koch, Raba (Rava) 

5)              รัฐมิโซรัม มีชนเผ่าหลัก ๆ 15 ชนเผ่าได้แก่ Chakma, Dimasa (Kachari), Garo, Hajong, Hmar, Khasi and Jaintia (Khasi, Synteng or Pnar, War, Bhoi or Lyngngam), Kuki (Baite or Beite, Changsan, Chongloi, Doungel, Gamalhou, Gangte, Guite, Hanneng, Haokip or Haupit, Haolai, Hengna, Hongsungh, Hrangkhwal ro Rangkhol, Jongbe, Khawchung, Khawathlang or Khothalong, Khelma, Kholhou, Kipgen, Kuki, Lengthang, Lhangum, Lhoujem, Lhouvun, Lupheng, Mangjel, Missao, Riang, Siarhem, Selnam, Singson, Sitlhou, Sukte, Thado, Thangngeu, Uibuh, Vaiphei), Lakher, Man (Tai-speaking), Mizo (Lushai), Mikir, Naga, Pawi, Synteng, Paite.

6)              รัฐนากาแลนด์ มีชนเผ่าหลัก ๆ 5 ชนเผ่าได้แก่ Naga, Kuki, Kachari, Mikir, Garo

7)              รัฐสิกขิม มีชนเผ่าหลัก ๆ 4 ชนเผ่าได้แก่ Bhutia (รวมกลุ่ม Chumbipa, Dopthapa, Dukpa, Kagatey, Sherpa, Tibetan, Tromopa, Yolma), Lepcha, Limboo, Tamang

8)              รัฐทริปูระ มีชนเผ่าหลัก ๆ 19 ชนเผ่าได้แก่ Bhil, Bhutia, Chaimal, Chakma, Garoo, Halam (Bengshel, Dub, Kaipeng, Kalai, Karbong, Lengui, Mussum, Rupini, Sukuchep, Thangchep), Jamatia, Khasia, Kuki (Balte,  Belalhut, Chhalya, Fun, Hajango, Jangtei, Khareng, Khephong, Kuntei, Laifang, Lentei, Mizel, Namte, Paitu/Paite, Rangchang, Rangkhole, Thangluya), Lepcha, Lushai, Mag, Munda/Kaur, Noatia/Murashing, Orang, Riang, Santal, Tripura (Tripuri, Tippera), Uchai.

คนในแถบนี้มีวัฒนธรรมที่ดำรงชนเผ่าไว้อย่างเหนียวแน่น และมีวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงคล้าย ๆ กับวัฒนธรรมและภาษาในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่อยู่ในตระกูลธิเบต-พม่า (Tibeto-Burman) และภาษาที่ใช้เป็นภาษาพูดที่มีความแตกต่างทั้งสำเนียงและความหมาย โดยไม่มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง ตัวอักษรที่ใช้อิงกับอักษรโรมันและการใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก แม้ว่าจะมีการบังคับใช้ภาษาฮินดีเป็นภาษากลางในระบบการศึกษา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคนกลุ่มนี้ต้องการหลีกหนีการครอบงำของวัฒนธรรมฮินดูและกระบวนการทำให้เป็นสันสกฤต (Sanskritization) จึงทำให้บางรัฐเกิดกระแสการต่อต้านวัฒนธรรมฮินดู
            ความน่าสนใจของดินแดนนี้มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน มีเจ้าผู้ปกครองรัฐก่อนและช่วงอาณานิคมอังกฤษเข้ามา มีความเป็นอิสระและแปลกแยกจากอินเดีย แต่หลังจากอินเดียได้ประกาศอิสรภาพจากอังกฤษในปี ค.ศ. 1947 ดินแดนในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของบริทิสอินเดีย อันประกอบด้วยอัสสัม และเจ้าผู้ครองรัฐมณีปุระและทริปุระ ได้ถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย ทำให้เกิดกลุ่มต่อต้านและเคลื่อนไหวเพื่อประกาศอิสรภาพภายใต้การปกครองของรัฐบาลอินเดีย และในช่วงปี 1960-70 ได้ก่อตั้งรัฐเพิ่มขึ้นเป็นนากาแลนด์, เมฆกัลยา และมิโซรัม อย่างไรก็ตามพื้นที่ส่วนใหญ่ในดินแดนแถบนี้ได้ถูกรวบรวมขึ้นในยุคอาณานิคม (บริทิสราช, British Raj) ถือว่าเป็นพื้นที่กันชนระหว่างอาณานิคมและอำนาจจากภายนอก ส่วนอรุณาจัลประเทศนั้นรัฐบาลจีนได้พยายามอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนในช่วงสงครามชิโน-อินเดียน (Sino-Indian) ในปีค.ศ. 1962 ลักษณะดินแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียนี้มีลักษณะแยกตัวออกจากอินเดียและเป็นดินแดนที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลหรือเรียกว่า “landlock” แต่ดินแดนแถบนี้ถือว่าเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่อันเป็นที่หมายปองของคนกลุ่มต่าง ๆ และความขัดแย้งทั้งภายในและภายนอกดินแดน นำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ที่สำคัญ อาทิปัญหาการเกิดกบฏ, ปัญหาการว่างงาน, ยาเสพติด และการขาดสาธารณูปโภค (น้ำ, ไฟฟ้า, ถนน ฯลฯ)
            อย่างไรก็ตามดินแดนแถบนี้ถือได้ว่าเป็นดินแดนที่มีเสน่ห์ มีความเป็นเอกภาพทางวัฒนธรรม, ศิลปะ, งานหัตถกรรมพื้นเมือง รวมถึงทัศนียภาพที่สวยงาม ผู้คนอัธยาศัยดีเป็นมิตร
            ในขณะที่โลกาภิวัตน์แพร่ขยายกว้างมากขึ้นก่อให้เกิดการปราศจากพรหมแดน และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ มากขึ้น รัฐบาลอินเดียจึงมีนโยบายการพัฒนาดินแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียที่เชื่อมความสัมพันธ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจกับภูมิภาคต่าง ๆ ทางด้านตะวันออกไม่ว่าจะเป็นจีน, เอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเกิดนโยบายสำคัญคือ “มองตะวันออก” (India’s Look East Policy) โดยประกาศนโยบายนี้ในปีค.ศ. 2004 โดยกระทรวงการต่างประเทศของอินเดียเล็งเห็นความสัมพันธ์ เกิดความร่วมมือกับประเทศในกลุ่มอาเซียน (ASEAN Countries) ไม่ว่าจะเป็น BIMSTEC และ India-ASEAN Summit dialogue ซึ่งเน้นในเรื่องของเศรษฐกิจและผลประโยชน์ด้านความมั่นคงในดินแดนด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย

เอกสารอ้างอิง : Ministry of Tribal Affairs, Government of Indai  Annual Report 2009-10

1 comment:

  1. Even we are different nationalities, lots of things that similar between them and Thais...:)

    ReplyDelete